หน้าแรก

3/24/2556

การจัดสรรช่อง ทีวีดิจิตอล จำนวน 48 ช่อง

12 ช่อง - กลุ่มสาธารณะ เป็นกลุ่มแรกที่ได้จัดสรรในเดือนพฤษภา (จากกรุงเทพธุรกิจ)
  • การศึกษา 1 ช่อง
  • ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม 1 ช่อง
  • กีฬา 1 ช่อง
  • ความมั่นคงของรัฐ 1 ช่อง
  • ความปลอดภัยสาธารณะ 1 ช่อง
  • ความเข้าใจรัฐกับประชาชน 1 ช่อง
  • ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย 1 ช่อง
  • ส่งเสริมเด็กและคนด้อยโอกาส 1 ช่อง
  • ช่อง 5 เดิม ได้ HD 1 ช่อง
  • ช่อง 11 เดิม ได้ HD 1 ช่อง
  • ช่อง ThaiPBS เดิมได้ HD 2 ช่อง
รายละเอียดเพิ่มเติมของทั้ง 12 ช่อง (ลิงค์)

12 ช่อง - กลุ่มชุมชน ยังไม่ได้จัดสรร

24 ช่อง - กลุ่มธุรกิจและพาณิชย์ เป็นกลุ่มที่ประมูลไลเซ่นส์ (รายละเอียด)
  • ช่องวาไรตี้ HD 7 ช่อง
  • ช่องวาไรตี้ SD 7 ช่อง
  • ช่องข่าว SD 7 ช่อง
  • ช่องเด็ก SD 3 ช่อง

งบโฆษณาธุรกิจชาเขียว และน้ำดำ

งบโฆษณาธุรกิจชาเขียวปี 2555
  • โออิชิ 518.16 ล้านบาท
  • อิชิตัน 224.91 ล้านบาท
  • เพียวริคุ 149.98 ล้านบาท 
งบโฆษณาธุรกิจน้ำอัดลมเดือนมกราปี 56
  • โค้ก 121.97 ล้านบาท
  • เป๊ปซี่ 48.18 ล้านบาท
  • เอส 28.94 ล้านบาท
กรุงเทพธุรกิจ (ลิงก์)

ส่วนแบ่งตลาด : ตลาดรวมเครื่องดื่ม

ตลาดรวมเครื่องดื่มปี 2555
  • น้ำอัดลม 4 หมื่นล้าน
  • เครื่องดื่มชูกำลัง 2 หมื่นล้าน (รายละเอียด)
  • ชาพร้อมดื่ม 1.2 หมื่นล้าน
  • อื่นๆ 7.8 หมื่นล้าน (เอาตลาดรวม 1.5 แสนล้านมาหักออก)
กรุงเทพธุรกิจ (ลิงก์)

ส่วนแบ่งตลาด : เครื่องดื่มชูกำลัง

ส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง
  • M-150 48%
  • คาราบาวแดง 18%
  • กระทิงแดง 16%
  • แรงเยอร์ (เป้าหมายปี 56) 5%
  • อื่นๆ 13%
กรุงเทพธุรกิจ (ลิงก์)

3/17/2556

CPN : จำนวนคนเดินห้างย่านปทุมวัน - ราชประสงค์


จำนวนผู้ใช้บริการห้างย่านปทุมวัน - ราชประสงค์ เฉลี่ยต่อวัน เป็นสถิติที่เก็บในเดือนกุมภาปี 56
ที่มาน่าจะมาจากกรุงเทพธุรกิจตอนหนึ่ง ซึ่งผมจำไม่ได้ 

Digital TV ปรับโครงสร้างใหม่


จำนวนช่องรายการทั้งหมด 24 ช่อง แบ่งดังนี้
1. ช่องวาไรตี้ HD 7 ช่อง (เดิม 4 เพิ่มเป็น 7 ช่อง) 
2. ช่องวาไรตี้ SD 7 ช่อง (เดิม 10 ลดลงเป็น 7 ช่อง) 
3. ช่องข่าว SD 7 ช่อง (เดิม 5 เพิ่มเป็น 7 ช่อง) 
4. ช่องเด็ก SD 3 ช่อง (เดิม 5 ลดลงเป็น 3 ช่อง)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้ทำให้ต้องประเมินราคาใหม่ (ราคาเก่าดูได้ที่นี่

เงื่อนไข
1. ผู้ประมูลช่องวาไรตี้ HD ห้ามประมูลช่องข่าว SD
2. ผู้ประมูลช่องข่าว SD ห้ามประมูลช่องวาไรตี้ HD


แนวโน้มผู้ประมูลสำหรับผู้เล่นใหญ่ 
1. แนวโน้มผู้ถือครอง 1 HD 1 SD 1 เด็ก มี 3 บริษัท (ช่อง 3, 7 ไม่น่าพลาด)
2. แนวโน้มผู้ถือครอง 1 HD 1 SD          มี 4 บริษัท
3. แนวโน้มผู้ถือครอง 7 ข่าว SD            มี 7 บริษัท


คาดเดาผู้เล่นช่องวาไรตี้ HD - ช่อง 3, 7, 9, GMMZ, RS
คาดเดาผู้เล่นช่องข่าว         - TNN, กลุ่มเนชั่น, Voice TV (ข่าว), กรุงเทพธุรกิจ
คาดเดาผู้เล่นช่องวาไรตี้ SD - ช่อง 3, 7, GMMZ, RS, Work Point, INTUCH
คาดเดาผู้เล่นช่องเด็ก         - Gang Cartoon (บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด),
                                      Cartoon Club (บริษัท การ์ตูนคลับมีเดีย),
                                      Kids Zone (NINE เครือเนชั่น), Channal6 (Workpoint)
ผู้เล่นอื่น                         - สปริงนิวส์ (SLC), True, APRINT อมรินทร์พริ้นติ้, SAMART

ข่าว
Work Point บอกจะประมูลช่องวาไรตี้ SD กับช่องเด็ก SD (ลิงก์)


3/10/2556

CPN แตกพาร์เป็น 0.5 บ./หุ้น พร้อมออกหุ้นเพิ่มทุนขาย PP

สรุปการแตกพาร์และเพิ่มทุน
  • CPN แตกพาร์ 1:1 เป็น 0.5 บ./หุ้น และออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 130.4 ล้านหุ้น หลังแตกพาร์ โดยหุ้นใหม่จะเสนอขาย PP ทั้งนี้กลุ่มเซ็นทรัลและครอบครัวจิราธิวัฒน์จะไม่เข้าซื้อหุ้นออกใหม่นี้ 
  • เงินที่ได้จากการเพิ่มทุน จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงการใหม่เพิ่มเติมจากแผนเดิมที่จะขยายสาขา 3-4 แห่งต่อปี
  • วันที่ประชุม 26 เม.ษ. 2556 เวลา 14:00 น. สถานที่ห้องบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว

มุมมองบัวหลวง
  •  มูลค่าเพิ่มจากการแตกพาร์และเพิ่มทุน: หากมองในทางเทคนิคแล้ว การแตกพาร์จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นให้สูงขึ้น นำมาซึ่งความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่ลดลง สำหรับการเพิ่มทุนผ่านวิธีการเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง นอกจากจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องขึ้นได้อีก ยังจะช่วยให้ CPN สามารถขยายธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้กำไรของบริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดดในระยะยาว 
  • ด้าน Valuation : ในมุมมองของเรา ระดับ PER ปี 2556 ของหุ้นที่สูงถึง 40 เท่าในขณะนี้ ไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากระดับ PER จะปรับตัวลดลงไปอยู่เพียง 23 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากกำไรก้อนใหญ่จากการขายสินทรัพย์   

มุมมอง KGI
  • ประเด็นการแตกพาร์ : มองว่าแม้การแตกหุ้นจะไม่ได้ส่งผลดีในแง่ของปัจจัยพื้นฐานของบริษัท แต่ก็น่าจะช่วยส่งผลดีต่อสภาพคล่องของการซื้อขายหุ้นบริษัท
  • การเพิ่มทุนจะก่อให้เกิด Dilution เพียงแค่ 2.99% เท่านั้น: หลังจากการแตกหุ้นแล้ว บริษัทจะทำการเสนอขายหุ้นใหม่ 130.4 แบบ PP ซึ่งการขายหุ้นใหม่ครั้งนี้จะคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 2.99% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท โดยราคาของหุ้นใหม่จะถูกกำหนดโดยวิธี bookbuild เพื่อให้สะท้อนถึงราคาที่กำหนดโดยตลาด เราคาดว่าบริษัทจะได้รับเงินจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ราว 5.7-6.0 พันล้านบาท ทั้งนี้เม็ดเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนรอบนี้จะช่วยให้ CPN สามารถนำไปใช้ในโครงการลงทุนใหม่ๆ นอกเหนือจากแผนการลงทุนที่ประกาศเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
  • กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ยังคงเดินหน้าต่อ: เลื่อนการขายสินทรัพย์ออกไปเป็นครึ่งหลังของปีนี้แทน สำหรับแผนขายสินทรัพย์ซึ่งรวมถึง เซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ และเซ็นทรัลพลาซ่า รามอินทราให้กับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (CPNRF)
  • upside อีก 1.96 บาท จากค่าสินไหมจากเหตุเพลิงไหม้: ตัวเลขรวมที่ CPN จะได้รับในขณะนี้น่าจะอยู่ที่ 4.2 พันล้านบาทหรือคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 1.96 บาทต่อหุ้น แต่อย่างไรก็ตามทางบริษัทเทเวศร์ประกันภัยก็ยังสามารถที่จะยื่นอุทธรณ์คำ ตัดสินของศาลได้ภายใน 30 วันนับจากมีคำตัดสินจากศาลชั้นต้น
ข่าว money channel (ลิงก์)
เพิ่มเติมจากกรุงเทพธุรกิจ (ลิงก์)