หน้าแรก

8/24/2556

บันทึกกราฟ JMART จาก 30 บาทลงไปที่ 19 บาท คิดเป็น 36.7%

  • ราคาปิดวันที่ 23/8/2556 อยู่ที่ 19 บาท (ขึ้น XD พอดี ปันผล 0.31 บาท)
  • PE 19.72 (ถือว่าสูง แต่บริษัทจะเติบโตได้มากกว่า 20% ในอีก 3 ปีเป็นอย่างน้อย)
  • Mkt Cap. 7,931.63 ล้านบาท
  • Margin 3.60%

8/18/2556

สถิติท่องเที่ยวเดือนกรกฎาปี 56

สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดือนกรกฎาปี 56
  • เดือนกรกฎาคมปี 56 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 2,223,685 คน เพิ่มขึ้น 407,971 คน
    หรือคิดเป็น 20.37% yoy 
  • ภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เอเชียตะวันออก (+34.91%) แอฟริกา (+19.34%) อเมริกา (+10.96%) ยุโรป (+10.53%)
  • สำหรับภูมิภาคที่นักท่องเที่ยวหดตัว ประกอบด้วย ตะวันออกกลาง (-27.87%)
  • นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดือนกรกฎา 56 สูงสุด 5 อันดับแรก
    1. จีน (445,184 คน)
    2. มาเลเซีย (235,451 คน)
    3. ญี่ปุ่น (121,000 คน) (เดือนก่อนเป็น อินเดีย)
    4. เกาหลี (112,778 คน) (เดือนก่อนเป็น ญี่ปุ่น)
    5. ลาว (108,704 คน) (เดือนก่อนเป็น สิงคโปร์)
StatJuly56.pdf

วิธีหา CAPEX (รายจ่ายลงทุน)


A. ผมจะหา CAPEX (รายจ่ายลงทุน) ได้จากไหนครับ

Q. ถ้าเราหา FCF จากงบกระแสเงินสด เราก็เริ่มด้วย เงินสดได้มาจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ย (ถ้ามีรายการจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนลบ ต้องเอามาบวกกลับ ถ้าไม่ได้ลบก็ใช้ได้เลย ส่วนดอกเบี้ยที่เป็นจำนวนบวก ไม่ต้องกังวลกับมัน) - เงินที่จ่ายให้กับสินทรัพย์ลงทุนในกิจกรรมลงทุน (ดูจำนวนที่เป็นลบของสินทรัพย์ที่สำคัญหรือที่จำเป็นต้องใช้เป็นฐานในการ ผลิต เช่น ที่ดินอาคารอุปกรณ์ สัมปทาน ฯลฯ สินทรัพย์ที่นำมารวมขึ้นอยู่กับลักษณะของอุตสาหกรรมและนโยบายของบริษัท บางครั้ง ถ้าบริษัทมีนโยบายในการเพิ่มผลผลิตโดยการควบกิจการ เราอาจต้องรวมจำนวนที่เป็นลบของเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม เข้าไปด้วย)

A. ผมตั้งใจจะหา FCF อย่างที่ อ. อธิบายครับ ในส่วนสินทรัพย์ในกิจกรรมลงทุน ที่ผมเข้าใจคือ สามารถแบ่งเป็นรายปี หรือ บันทึกครั้งเดียวในปีที่จ่าย ตัวเลขที่ระบุนั้นนำไปใช้ได้เลยหรือเปล่าครับ ถ้าเป็นการแบ่งเป็นทึกรายปี ตัวเลขในงบนั้นเป็นการแบ่งออกมาแล้วหรือเปล่าครับ

Q. ใช้ตัวเลขที่ระบุเลย ไม่ต้องแบ่ง ยกเว้นรูปแบบการลงทุนของบริษัทต่างจากบริษัทอื่นหรือบริษัทเพิ่งเริ่ม FCF ก็อาจไม่สะท้อนภาพอนาคต แต่ในการบริหารงาน เมื่อบริษัทอยู่ตัวแล้ว รูปแบบการลงทุนน่าจะใกล้เคียงกันทุกปี คุณอาจต้องพยายามทำความเข้าใจกับหลักการพื้นฐานของ FCF ก่อนที่จะมาทำตัวเลข ถ้าไม่เข้าใจว่าหลักการคืออะไร ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณก็ไม่มีความหมาย

ขอบคุณ อ.ภาพร ที่ให้คำตอบครับ 
ที่มา: ดร.ภาพร เอกอรรถพร (Fanpage) 

คำถามถึง IR บริษัท MC Group


1. ทำไมบริษัทถึงมุ่งเน้นที่จะจัดหาสินค้าจากผู้รับจ้างผลติภายนอก และลดกำลังการผลิตโรงงานของตัวเองลง (PK2, PK3) เท่าที่ทราบจากข้อมูลคือต้องการลดต้นทุน ตรงนี้ถ้าเราควบคุมต้นน้ำเองไม่ลดต้นทุนกว่าหรือว่าอย่างไรครับ

ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทต้องการมุ่งเน้นการบริหารในการสร้าง brand, การพัฒนา design, การพัฒนา salesforce และการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้นค่ะ ซึ่งบริษัทเล็งเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต

นอกจากนี้ จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการว่าจ้างผู้รับจ้างผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่าการว่าจ้างผู้รับจ้างผลิต โดยส่วนมากจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการที่บริษัทผลิตเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บริษัทกำลังศึกษาเพิ่มเติมถึงคุณภาพของสินค้าว่าผู้รับจ้างผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานที่ทางบริษัทกำหนดไว้หรือไม่


2. ไตรมาสล่าสุดสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นอย่างมาก เข้าใจว่าบริษัทมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และระยะเวลาการขายของสินค้าสูงถึง 220 วัน อยากทราบว่าตรงนี้สำหรับสินค้ายีนส์แล้ว ตัวเลขวันไม่ควรเกินเท่าไหร่ครับ

การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังส่วนหนึ่งมาจากการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งมาจากการเปิดตัวของแบรนด์ใหม่ ซึ่งทางบริษัทยอมรับว่า Inventory days ของบริษัทอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่เนื่องด้วยลักษณะของสินค้าประเภทกางเกงยีนส์ที่มีการหมุนเวียนของเทรนด์แฟชั่นที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าเครื่องแต่งกายประเภทอื่น ซึ่งสินค้าที่เป็นรุ่น Classic ก็จะสามารถวางขายได้เรื่อยๆ อย่างไรก็ดี บริษัทมิได้นิ่งนอนใจและมีพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะลด Inventory days ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

3. ในเอกสารบอกว่ากำลังพัฒนาระบบสารสนเทศมาช่วยวิเคราะห์ให้ระยะเวลาการขายสินค้าลดลง ระบบตรงนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้วครับ ถ้าอยู่ในขั้นตอนดำเนินงาน ไม่ทราบว่าระบบจะเสร็จเมื่อไหร่ เป็นระบบอะไร (ถ้าบอกได้)

ในขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ในช่วงคัดเลือก vendor โดยการพัฒนาระบบจะทำเป็นส่วนๆไป เช่น ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง, ระบบ PoS สำหรับหน้าร้าน, ระบบ ERP (Enterprise resource planning) และ ระบบ MRP (Material requirement planning) สำหรับการทำ demand and production planning ที่แม่นยำขึ้น เป็นต้น โดยทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 ค่ะ

4. ธุรกิจนี้มีการคิดค่าเสื่อมยีนส์อย่างไรครับ เช่น บางสินค้าคิดค่าเสื่อม
ขายไม่ได้เกิน 6 เดือน คิดค่าเสื่อม 15% ของราคาสินค้า
ขายไม่ได้เกิน 1 ปี คิดค่าเสื่อม 30% ของราคาสินค้า

เนื่องจากลักษณะของสินค้า ยีนส์เป็นสินค้าที่มีการหมุนเวียนปรับเปลี่ยนของเทรนด์แฟชั่นที่ค่อนข้างต่ำ
และ สามารถวางขายได้ค่อนข้างนาน ดังนั้นบริษัทจะใช้การตั้งสำรองเผื่อสินค้าล้าสมัย แทนการคิดค่าเสื่อมของสินค้า ซึ่งจะตั้งสำรอง 20% ของมูลค่าสินค้าคงเหลือ สำหรับสินค้าที่มียอดขายต่ำกว่า 50 ชิ้นใน 6 เดือน

5. เหตุผลที่ผู้บริโภคซื้อ แม็คยีนส์ แทนที่จะซื้อ ลีวายส์ เพราะอะไรครับ ถ้าไม่ใช่เรื่องราคา 

pattern และ fitting เป็นสาเหตุหลักที่ผู้บริโภคเลือกแม็ค แทนที่จะเป็น Levi’s เนื่องจากรูปทรงของกางเกงยีนส์ของ Mc ออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของคนไทย หรือคนเอชียมากกว่า นอกจากนี้แล้วช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศซึ่งทำให้หาซื้อสินค้าได้สะดวก ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งค่ะ

ปล. แม็คยีนส์มีกางเกงของปลอมบ้างไหมครับ - มีค่ะ มีคนทำกางเกงยีนส์แม็คปลอมขายค่ะ ซึ่งทางบริษัทก็มิได้นิ่งนอนใจ และพยายามที่จะป้องกันในส่วนนี้


สอบถามในวันที่ 28 ก.ค. 2556 ขอบคุณ K.เขมินี เกียรติสัมพันธ์ สำหรับคำตอบครับ