หน้าแรก

11/24/2556

สถิติท่องเที่ยวเดือนตุลาปี 56

สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดือนตุลาปี 56
  • เดือนตุลาคมปี 56 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 2,065,518 คน เพิ่มขึ้น 264,371 คน
    หรือคิดเป็น 14.16% yoy 
  • ภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ ตะวันออกกลาง (+29.83%)
  • นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดือนตุลา 56 สูงสุด 5 อันดับแรก
    1. จีน (309,497 คน)
    2. มาเลเซีย (241,072 คน)
    3. รัสเซีย (137,593 คน)
    4. ญี่ปุ่น (115,291 คน)
    5. เกาหลี (109,916 คน)
สถิตินักท่องเที่ยว2013

สถิติท่องเที่ยวเดือนกันยาปี 56

สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดือนกันยาปี 56
  • เดือนกันยายนปี 56 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 2,056,405 คน เพิ่มขึ้น 444,651 คน
    หรือคิดเป็น 27.59% yoy 
  • ภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เอเชียตะวันออก (+38.52%)
  • นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดือนกันยา 56 สูงสุด 5 อันดับแรก
    1. จีน (471,356 คน)
    2. มาเลเซีย (217,129 คน)
    3. ญี่ปุ่น (135,653 คน)
    4. ลาว (100,506 คน)
    5. เกาหลี (96,608 คน)
สถิตินักท่องเที่ยว2013

10/20/2556

เทคนิคบางประการในการดูงบการเงิน

ในเรื่องของการอ่านงบการเงิน เพื่อหาความผิดปกติหรือสัญญาณว่า จะมีการตกแต่งงบการเงินหรือไม่ ในส่วนของ งบดุลและงบกระแสเงินสด ซึ่งในส่วนของงบดุลนั้น จะสามารถให้ข้อมูลได้ทั้งในกรณีการตกแต่งผลกำไรและการใช้จ่ายเงินที่ไม่ เหมาะสม
ในกรณีของการตกแต่งกำไรนั้นจะเป็นผลมาจาก การสร้างรายได้เกินจริงหรือการชะลอค่าใช้จ่าย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีผลต่องบดุลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็สามารถหาความผิดปกติได้ดังนี้

• การสร้างรายได้เกินจริง
จะสังเกตได้จากยอดลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เช่น ในอดีตลูกหนี้การค้าอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขายแต่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30% เป็นต้น โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นแทบจะทั้งหมดเพิ่มมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น สาเหตุเป็นเพราะยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่มีการชำระราคากันจริง

• การชะลอค่าใช้จ่าย
จะสังเกตได้จากหลายรายการในงบดุล เริ่มต้นจาก รายการค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายการสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน หากรายการเหล่านี้ เพิ่มขึ้นอย่างมากก็ควรจะพิจารณาดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเหล่านี้อาจต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่บริษัทได้ชะลอการตัดเป็นค่าใช้จ่ายจึงตั้งเป็นทรัพย์สินไว้ก่อน อีกรายการหนึ่งที่ควรดูก็คือ สินค้าคงคลัง เพราะมีกรณีที่สินค้าของบริษัทล้าสมัย หรือมีข้อบกพร่องจนไม่สามารถขายได้ แต่บริษัทอาจไม่ยอมตัดเป็นค่าใช้จ่าย และอีกกรณีหนึ่งคือ การตั้งสำรองหนี้สูญที่ต่ำเกินไป อาจต้องดูนโยบายและสถิติในอดีตประกอบกันไป

สำหรับกรณีของการใช้จ่ายเงิน ที่ไม่เหมาะสมนั้นงบดุลก็สามารถให้ข้อมูลความผิดปกติได้เช่นกัน โดยทั่วไปการใช้จ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมจะเกิดจากการที่ผู้บริหารพยายามที่จะ โยกย้ายทรัพย์สินออกจากบริษัท ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปเงินสดหรือทรัพย์สินถาวรก็ได้ สิ่งที่อาจพบได้ในงบสำหรับกรณีของการโยกย้ายเงินสดได้แก่ รายการให้กู้ยืมแก่ผู้บริหารหรือกรรมการ หรืออาจอยู่ในรูปของการซื้อทรัพย์สินถาวร จากผู้บริหารและกรรมการในราคาสูงกว่าราคาตลาดมาก และในบางกรณีอาจถึงขั้นที่มีการจ่ายเงินค่าทรัพย์สินแต่ไม่ได้รับโอน ทรัพย์สินเหล่านั้นมาให้บริษัทอย่างถูกต้อง ส่วนของการโยกย้ายทรัพย์สิน ก็อาจอยู่ในรูปของการขายทรัพย์สินถาวรของบริษัทให้กับผู้บริหารหรือกรรมการ ในราคาที่​ต่ำกว่าราคาตลาดมาก สำหรับผู้อ่านหากเห็นทรัพย์สินถาวรของบริษัท เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก ขอแนะนำให้อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากหมายเหตุประกอบงบว่า ทรัพย์สินถาวรเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุใด และเป็นประโยชน์จริงต่อการทำธุรกิจหรือไม่

งบสุดท้ายที่จะแนะนำให้พิจารณาเพื่อหาสัญญาณความผิดปกติก็คือ งบกระแสเงินสด หากบริษัทแสดงผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากแต่กระแสเงินสดจากการปฏิบัติงานกลับ ติดลบ ก็เริ่มเป็นสัญญาณที่ไม่ดี ต้องดูในรายละเอียดต่อว่า กระแสเงินสดที่ติดลบนั้นมาจากอะไร เช่นอาจเป็นเพราะลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือในส่วนของกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนก็จะบอกให้ผู้อ่านงบทราบได้ว่า ในรอบบัญชีที่ผ่านมาบริษัทมีการซื้อหรือจำหน่ายทรัพย์สินถาวรหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จากลักษณะของข้อมูลที่ได้จากงบกระแสเงินสดจึงทำให้ผู้อ่านบางท่านเริ่มการ พิจารณางบก​ารเงินจากงบกระแสเงินสดก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงเข้าไปดูรายละเอียดต่อในงบดุลและงบกำไรขาดทุน ทั้งนี้ การจะเริ่มจากงบฉบับใดก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละท่าน ไม่มีลำดับก่อนหลังตายตัว

โดย ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ [1-9-2005]
http://www.businessthai.co.th

9/24/2556

เซ็นทรัลรุกอาเซียน! (มาเลเซีย อินโดนิเซีย และเวียดนาม)



  • วางแผนขยายประเทศละ 10 แห่งใน 10-15 ปี (รวม 3 ประเทศ เป็น 30 แห่ง)
  • เงินลงทุน 4-5 พันล้าน/แห่ง
Image : CPN
Info : Bangkokbiznews (4 Sep 2013)

ที่มา : Realist

ผลสำรวจราคาที่ดินใจกลางเมืองย้อนหลัง 10 ปี (2544-2555)

Info : CBRE (Thailand) & Prachachat Online (5-8 Sep 2013)

ผลสำรวจราคาที่ดินใจกลางเมืองย้อนหลัง 10 ปี (2544-2555)
  • สุขุมวิท แพงขึ้น 488% 
    • 2545 - 2 แสน / ตร.ว.
    • 2555 - 1.5 ล้าน / ตร.ว. 
    • 2557 - 2 ล้าน / ตร.ว. (คาดการณ์)   
  • เพลินจิต-ลุมพินี แพงขึ้น 316%
    • 2545 - 6 แสน / ตร.ว.
    • 2555 - 1.5 ล้าน / ตร.ว.
  • สีสม-สาทร แพงขึ้น 290%
    • 2545 - 4 แสน / ตร.ว.
    • 2555 - 1.4 ล้าน / ตร.ว.      
  • พญาไท-พหลโยธิน แพงขึ้น 260%
    • 2545 - 2 แสน / ตร.ว.
    • 2555 - 1 ล้าน / ตร.ว.
  • รัชดาฯ แพงขึ้น 250%
    • 2545 - 2 แสน / ตร.ว.   
    • 2555 - 7 แสน / ตร.ว. 
  • เพชรบุรี แพงขึ้น 154%
    • 2545 - 3 แสน / ตร.ว.
    • 2555 - 5 แสน / ตร.ว.   
  • อุดรฯ ขอนแก่น พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต ฯลฯ แพงขึ้น 30-100% (ใน 1 ปี) ซึ่งเป็นผลจากการจะเปิด AEC ในปี 58
    • เมืองหัวหินติดหาด 2 แสน / ตร.ว.
    • เมืองพัทยาติดหาด 1 แสน / ตร.ว.
    • ขอนแก่นในตัวเมือง 7-8 หมื่น / ตร.ว.
    • ที่ดินรอบสถานีไฮสปีดเทรนในรัศมี 5 กม. คาดว่าขยับขึ้นปีละ 20-30% 
    • ที่ดินรอบสถานีไฮสปีดเทรนนอกรัศมี 5 กม. คาดว่าขยับขึ้นปีละไม่เกิน 20%
 
หมายเหตุ: กราฟนี้เป็นการเลือกข้อมูลที่ดินเพียงบางแปลงที่เค้าปิดดีลมาเปรียบเทียบ ดังนั้นราคานี้ไม่ใช่ราคาเฉลี่ยของแต่ละโซน ผมเข้าใจว่าเป็นราคาที่สูงเกือบสุดในแต่ละทำเลในแต่ละปี ที่ดินแต่ละแปลงมีลักษณะที่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ตรงๆ เช่น ขนาดที่ดิน หน้ากว้าง FAR ต่างกัน
 
ที่มา: Realist 

9/22/2556

บันทึกกราฟ SET ทำจุดสูงสุด 1,649 และต่ำสุดที่ 1,260 จุด

  • กราฟทำจุดสูงสุดที่ 1,649 จุด ในวันที่ 21/05/2013 
  • จากนั่นก็ลงมาปรับฐานที่จุดต่ำสุด 1,260 จุด ในวันที่ 28/08/2013
  • เวลาประมาณ 3 เดือน SET ลงมาถึง 23.6%
  • การยังไม่ทำ QE Tapering ของ Fed ทำให้ในวันที่ 19/09/2013 หุ้นเปิดกระโดดแรงทันที
  • ตลาดตอนนี้ดูดี คึกคัก และน่าจะกลับไปกังวลอีกครั้งตอนเปลี่ยนประธาน FED ต้นปีหน้า

9/20/2556

สถิติท่องเที่ยวเดือนสิงหาปี 56

สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดือนสิงหาปี 56
  • เดือนสิงหาคมปี 56 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 2,469,160 คน เพิ่มขึ้น 542,231 คน
    หรือคิดเป็น 28.14% yoy *ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์*
  • ภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เอเชียตะวันออก (+36.16%)
  • นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดือนสิงหา 56 สูงสุด 5 อันดับแรก
    1. จีน (497,766 คน)
    2. มาเลเซีย (308,463 คน) 
    3. ญี่ปุ่น (160,200 คน)
    4. ลาว (130,916 คน) (เดือนก่อนเป็น เกาหลี)
    5. เกาหลี (129,315 คน) (เดือนก่อนเป็น ลาว)
StatAug56.pdf

9/08/2556

"กำไรสะสม" กับ "เงินสด"

คำถาม
อาจารย์ครับ กำไรสะสม นี้มันคือ อยู่ในรูปเงินสดหรือเปล่าครับ

คำตอบ
"กำไรสะสม" ก็คือกำไรสะสม "เงินสด" ก็คือเงินสด อยู่คนละฝั่งในสมการบัญชีค่ะ แม้จะเกี่ยวข้องกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสะท้อนภาพเดียวกัน

คำอธิบายเพิ่มเติม
กำไรสะสมเป็นส่วนหนึ่งของ "ส่วนทุน" ถือว่าเป็นส่วนทุนที่บริษัทสร้างจากความสามารถของบริษัทเองและสะสมไว้ในบริษัทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การที่ "กำไรสะสม" เพิ่มขึ้นทำให้เราคาดการณ์ว่า "เงินสด" ของบริษัทต้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว (ถ้ารู้สมการบัญชี เราจะเข้าใจว่า ส่วนทุนอยู่ด้านขวาของสมการ เมื่อด้านขวาเพิ่ม ด้านซ้ายของสมการต้องเพิ่มตาม ด้านซ้ายของสมการในที่นี้ เรามักคิดถึง "เงินสด" ดังนั้น เมื่อกำไรสะสมเพิ่ม เงินสดของบริษัทควรเพิ่มตาม แต่นั่น... ไม่จริงเสมอไป)

เมื่อกำไรสะสมเพิ่ม เรามักคาดหวังว่า "เงินสด" ของบริษัท (ซึ่งเป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่ง) จะเพิ่มขึ้นบาทต่อบาท แต่ในความเป็นจริง บริษัทอาจไม่ได้ค้าขายด้วยเงินสดเพียง อย่างเดียว ในการสร้างกำไร บริษัทอาจให้ลูกค้าแปะโป้งไว้ เรียกว่า "ลูกหนี้การค้า" (เงินสดยังไม่ได้รับ แต่กำไรรับรู้เข้ากำไรสะสมไปแล้ว) ลูกหนี้บางส่วนเบี้ยวหนี้ทำให้เกิด "ค่าใช้จ่าย" ที่เรียกว่า "หนี้สงสัยจะสูญ" ซึ่งจะกลายเป็น "ค่าใช้จ่าย" ที่จะนำไปหักจากกำไรสะสมในงวดต่อๆ ไป จากตัวอย่างนี้ เราจะเห็นว่า "กำไรสะสม" ทางด้านขวาของสมการ สามารถทำให้เกิดรายการทางด้านซ้ายของสมการได้ 3 รายการแล้ว นั่นคือ 1. เงินสด 2. ลูกหนี้การค้า 3. ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญ

ไม่ใช่เพียงเท่านั้น...

สมมุติต่อว่า บริษัทได้รับเงินสดมาจากการขายสินค้าทั้งหมด จ่ายค่าใช้จ่ายด้วยเงินสดทั้งหมด เหลือกำไรเป็นเงินสดทั้งหมด แล้วโอนไปเข้าที่กำไรสะสม นั่นหมายความว่า บริษัทได้ "เงินสด" มาจาก "กำไรสะสม" บาทต่อบาท แต่ต่อมาบริษัทอาจไม่อยากกำ "เงินสด" ไว้นาน เพราะมีเรื่องที่ต้องใช้ เช่น จ่ายค่าเช่าล่วงหน้า เงินสดนั้นจะแปลงสภาพไปเป็น "ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า" ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์รายการหนึ่งในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) หรือซื้อหุ้นของบริษัทอื่นมาเก็งกำไร (บันทึกเป็น "เงินลงทุน") หรือให้บริษัทอื่นกู้ยืมเงิน (บันทึกเป็น "เงินให้กู้ยืม" โดยเฉพาะกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน) หรือซื้อสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานที่มีอายุการให้ประโยชน์เกิน 1 (บันทึกเป็น "ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์) ฯลฯ

ดังนั้น เราจะเห็นว่า "เงินสด" ที่บริษัทได้มาจาก "กำไรสะสม" นั้น อาจแปลงสภาพไปเป็นสินทรัพย์รายการอื่น เป็นค่าใช้จ่าย หรือนำไปลดหนี้สิน จนหมดไปจากคลังแล้ว บางครั้ง บริษัทสุรุ่ยสุร่ายหาเงินมาเท่าไรก็ไม่พอใช้ พอบริษัทจะประกาศจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น บริษัทก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาจ่ายปันผล (เมื่อสุรุ่ยสุร่าย ไม่มีวินัยการคลัง ก็ต้องกู้เงินเพิ่มหรือปิดโรงเรียนเล็ก.. เริ่มนอกเรื่อง)

สรุปก็คือ... คำว่า "กำไรสะสม" กับ "เงินสด" นั้นมีความหมายต่างกัน อาจเกี่ยวข้องกันในบางเรื่อง แต่มักไม่สะท้อนภาพเดียวกัน เช่น บริษัทมี "กำไรสะสม" มาก แต่อาจไม่มี "เงินสด" เพราะใช้หมดแล้ว หรือบริษัทมี "เงินสด" มาก แต่อาจไม่มี "กำไรสะสม" เพราะค้าขายขาดทุน และเงินสดที่มีอยู่ก็กู้เขามาทั้งนั้น (แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายคืน เพราะเล่นกู้เงินมาโกงกัน ตัวเองโกงไม่พอ เอาญาติตัวเองมาช่วยโกง เอาญาติตัวเองมาไม่พอ ไปชวนพวกมาช่วยโกง แล้วพวกก็ชวนญาติมาช่วยโกงต่อ พอเหลือแต่กระดูก ผู้บริหารก็ยังสุขสำราญ บาปได้กับนักลงทุนกับประชาชนค่ะ)

9/07/2556

JMART - การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ 3/9/2556


ราคา JMART ลงจาก 30 บาทมาจุดต่ำสุดที่ 13.90 บาท ถ้าธุรกิจของบริษัทยังไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ การที่ราคาลงมากว่า 50% ก็น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นใหญ่

ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ขายออก 5 ราย
1. นายอมรวัฒน์ ถิรกฤตพร 
2. นายสุวัฒน์ นิยมเสถียร
3. นายสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล โดย บลจ.แอสเซทพลัส จำกัด
4. นายสิทธิชัย ไพโรจน์ถาวรวัฒนา
5. นางสาวอัญชิษฐา เตชะรักษ์พงษ์

ผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ 3 ราย
1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 3,458,700 หุ้น คิดเป็น 0.83% (ถือเป็นเรื่องที่ดี)
2. นายสมศักดิ์ ติรกานันท์
3. นางวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล

8/24/2556

บันทึกกราฟ JMART จาก 30 บาทลงไปที่ 19 บาท คิดเป็น 36.7%

  • ราคาปิดวันที่ 23/8/2556 อยู่ที่ 19 บาท (ขึ้น XD พอดี ปันผล 0.31 บาท)
  • PE 19.72 (ถือว่าสูง แต่บริษัทจะเติบโตได้มากกว่า 20% ในอีก 3 ปีเป็นอย่างน้อย)
  • Mkt Cap. 7,931.63 ล้านบาท
  • Margin 3.60%

8/18/2556

สถิติท่องเที่ยวเดือนกรกฎาปี 56

สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดือนกรกฎาปี 56
  • เดือนกรกฎาคมปี 56 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 2,223,685 คน เพิ่มขึ้น 407,971 คน
    หรือคิดเป็น 20.37% yoy 
  • ภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เอเชียตะวันออก (+34.91%) แอฟริกา (+19.34%) อเมริกา (+10.96%) ยุโรป (+10.53%)
  • สำหรับภูมิภาคที่นักท่องเที่ยวหดตัว ประกอบด้วย ตะวันออกกลาง (-27.87%)
  • นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดือนกรกฎา 56 สูงสุด 5 อันดับแรก
    1. จีน (445,184 คน)
    2. มาเลเซีย (235,451 คน)
    3. ญี่ปุ่น (121,000 คน) (เดือนก่อนเป็น อินเดีย)
    4. เกาหลี (112,778 คน) (เดือนก่อนเป็น ญี่ปุ่น)
    5. ลาว (108,704 คน) (เดือนก่อนเป็น สิงคโปร์)
StatJuly56.pdf

วิธีหา CAPEX (รายจ่ายลงทุน)


A. ผมจะหา CAPEX (รายจ่ายลงทุน) ได้จากไหนครับ

Q. ถ้าเราหา FCF จากงบกระแสเงินสด เราก็เริ่มด้วย เงินสดได้มาจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ย (ถ้ามีรายการจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนลบ ต้องเอามาบวกกลับ ถ้าไม่ได้ลบก็ใช้ได้เลย ส่วนดอกเบี้ยที่เป็นจำนวนบวก ไม่ต้องกังวลกับมัน) - เงินที่จ่ายให้กับสินทรัพย์ลงทุนในกิจกรรมลงทุน (ดูจำนวนที่เป็นลบของสินทรัพย์ที่สำคัญหรือที่จำเป็นต้องใช้เป็นฐานในการ ผลิต เช่น ที่ดินอาคารอุปกรณ์ สัมปทาน ฯลฯ สินทรัพย์ที่นำมารวมขึ้นอยู่กับลักษณะของอุตสาหกรรมและนโยบายของบริษัท บางครั้ง ถ้าบริษัทมีนโยบายในการเพิ่มผลผลิตโดยการควบกิจการ เราอาจต้องรวมจำนวนที่เป็นลบของเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม เข้าไปด้วย)

A. ผมตั้งใจจะหา FCF อย่างที่ อ. อธิบายครับ ในส่วนสินทรัพย์ในกิจกรรมลงทุน ที่ผมเข้าใจคือ สามารถแบ่งเป็นรายปี หรือ บันทึกครั้งเดียวในปีที่จ่าย ตัวเลขที่ระบุนั้นนำไปใช้ได้เลยหรือเปล่าครับ ถ้าเป็นการแบ่งเป็นทึกรายปี ตัวเลขในงบนั้นเป็นการแบ่งออกมาแล้วหรือเปล่าครับ

Q. ใช้ตัวเลขที่ระบุเลย ไม่ต้องแบ่ง ยกเว้นรูปแบบการลงทุนของบริษัทต่างจากบริษัทอื่นหรือบริษัทเพิ่งเริ่ม FCF ก็อาจไม่สะท้อนภาพอนาคต แต่ในการบริหารงาน เมื่อบริษัทอยู่ตัวแล้ว รูปแบบการลงทุนน่าจะใกล้เคียงกันทุกปี คุณอาจต้องพยายามทำความเข้าใจกับหลักการพื้นฐานของ FCF ก่อนที่จะมาทำตัวเลข ถ้าไม่เข้าใจว่าหลักการคืออะไร ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณก็ไม่มีความหมาย

ขอบคุณ อ.ภาพร ที่ให้คำตอบครับ 
ที่มา: ดร.ภาพร เอกอรรถพร (Fanpage) 

คำถามถึง IR บริษัท MC Group


1. ทำไมบริษัทถึงมุ่งเน้นที่จะจัดหาสินค้าจากผู้รับจ้างผลติภายนอก และลดกำลังการผลิตโรงงานของตัวเองลง (PK2, PK3) เท่าที่ทราบจากข้อมูลคือต้องการลดต้นทุน ตรงนี้ถ้าเราควบคุมต้นน้ำเองไม่ลดต้นทุนกว่าหรือว่าอย่างไรครับ

ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทต้องการมุ่งเน้นการบริหารในการสร้าง brand, การพัฒนา design, การพัฒนา salesforce และการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้นค่ะ ซึ่งบริษัทเล็งเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต

นอกจากนี้ จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการว่าจ้างผู้รับจ้างผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่าการว่าจ้างผู้รับจ้างผลิต โดยส่วนมากจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการที่บริษัทผลิตเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บริษัทกำลังศึกษาเพิ่มเติมถึงคุณภาพของสินค้าว่าผู้รับจ้างผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานที่ทางบริษัทกำหนดไว้หรือไม่


2. ไตรมาสล่าสุดสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นอย่างมาก เข้าใจว่าบริษัทมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และระยะเวลาการขายของสินค้าสูงถึง 220 วัน อยากทราบว่าตรงนี้สำหรับสินค้ายีนส์แล้ว ตัวเลขวันไม่ควรเกินเท่าไหร่ครับ

การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังส่วนหนึ่งมาจากการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งมาจากการเปิดตัวของแบรนด์ใหม่ ซึ่งทางบริษัทยอมรับว่า Inventory days ของบริษัทอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่เนื่องด้วยลักษณะของสินค้าประเภทกางเกงยีนส์ที่มีการหมุนเวียนของเทรนด์แฟชั่นที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าเครื่องแต่งกายประเภทอื่น ซึ่งสินค้าที่เป็นรุ่น Classic ก็จะสามารถวางขายได้เรื่อยๆ อย่างไรก็ดี บริษัทมิได้นิ่งนอนใจและมีพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะลด Inventory days ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

3. ในเอกสารบอกว่ากำลังพัฒนาระบบสารสนเทศมาช่วยวิเคราะห์ให้ระยะเวลาการขายสินค้าลดลง ระบบตรงนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้วครับ ถ้าอยู่ในขั้นตอนดำเนินงาน ไม่ทราบว่าระบบจะเสร็จเมื่อไหร่ เป็นระบบอะไร (ถ้าบอกได้)

ในขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ในช่วงคัดเลือก vendor โดยการพัฒนาระบบจะทำเป็นส่วนๆไป เช่น ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง, ระบบ PoS สำหรับหน้าร้าน, ระบบ ERP (Enterprise resource planning) และ ระบบ MRP (Material requirement planning) สำหรับการทำ demand and production planning ที่แม่นยำขึ้น เป็นต้น โดยทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 ค่ะ

4. ธุรกิจนี้มีการคิดค่าเสื่อมยีนส์อย่างไรครับ เช่น บางสินค้าคิดค่าเสื่อม
ขายไม่ได้เกิน 6 เดือน คิดค่าเสื่อม 15% ของราคาสินค้า
ขายไม่ได้เกิน 1 ปี คิดค่าเสื่อม 30% ของราคาสินค้า

เนื่องจากลักษณะของสินค้า ยีนส์เป็นสินค้าที่มีการหมุนเวียนปรับเปลี่ยนของเทรนด์แฟชั่นที่ค่อนข้างต่ำ
และ สามารถวางขายได้ค่อนข้างนาน ดังนั้นบริษัทจะใช้การตั้งสำรองเผื่อสินค้าล้าสมัย แทนการคิดค่าเสื่อมของสินค้า ซึ่งจะตั้งสำรอง 20% ของมูลค่าสินค้าคงเหลือ สำหรับสินค้าที่มียอดขายต่ำกว่า 50 ชิ้นใน 6 เดือน

5. เหตุผลที่ผู้บริโภคซื้อ แม็คยีนส์ แทนที่จะซื้อ ลีวายส์ เพราะอะไรครับ ถ้าไม่ใช่เรื่องราคา 

pattern และ fitting เป็นสาเหตุหลักที่ผู้บริโภคเลือกแม็ค แทนที่จะเป็น Levi’s เนื่องจากรูปทรงของกางเกงยีนส์ของ Mc ออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของคนไทย หรือคนเอชียมากกว่า นอกจากนี้แล้วช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศซึ่งทำให้หาซื้อสินค้าได้สะดวก ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งค่ะ

ปล. แม็คยีนส์มีกางเกงของปลอมบ้างไหมครับ - มีค่ะ มีคนทำกางเกงยีนส์แม็คปลอมขายค่ะ ซึ่งทางบริษัทก็มิได้นิ่งนอนใจ และพยายามที่จะป้องกันในส่วนนี้


สอบถามในวันที่ 28 ก.ค. 2556 ขอบคุณ K.เขมินี เกียรติสัมพันธ์ สำหรับคำตอบครับ

7/21/2556

สถิติท่องเที่ยวเดือนมิถุนาปี 56

สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดือนมิถุนาปี 56

  • เดือนมิถุนายนปี 56 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 2,056,241 คน เพิ่มขึ้น 411,508 คน
    หรือคิดเป็น 19.36% yoy 
  • ภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เอเชียตะวันออก (+36.63%) ยุโรป (+20.07%)
  • สำหรับภูมิภาคที่นักท่องเที่ยวหดตัว ประกอบด้วย โอเชียเนีย (-18.51%)
  • นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดือนมิถุนา 56 สูงสุด 5 อันดับแรก
    1. จีน
    2. มาเลเซีย 
    3. อินเดีย
    4. ญี่ปุ่น
    5. สิงคโปร์ (เดือนก่อนเป็น รัสเซีย)

สรุป JMART & JMT Company Visit วันที่ 12/07/13

JMART
  • ทาง ผบห. เพิ่งกลับจากการ Road show ที่ฮ่องกง และ เพิ่งมี Company visit จาก นักลงทุนชาวญี่ปุ่น
  • ตอนนี้ Jaymart Shop มี 134 สาขา, Samsung Shop มี 8 สาขา, Franchise 4 สาขา, Consignment 80 สาขา (ที่ Big C, The Mall)
  • ปัจจุบันมี 240 สาขา ปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 280สาขา ปีหน้า 300 
    • ร้าน Smartphone & Tablet ลงทุน 4-6 ล้านบาทต่อสาขา 
    • ร้านธรรมดา ลงทุน 1-3 ล้านบาทต่อสาขา ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 2 ปี 
    • ร้านแฟรนไชส์ลงทุนเองทั้งหมด ค่าธรรมเนียม 3 แสนบาท stock ซื้อขาด
  • ยอดขายต่อเดือน 700-800 ล้านบาท จากเมื่อก่อน 400-500 ล้านบาท (ปี 2012 650 ล้านบาท)
  • ปีนี้ยอดขายน่าจะแตะ 10,000 ล้านบาท ได้เป็นปีแรก
  • Market size 
    • ปี 2011 ประมาณ 50,000 ล้านบาท 
    • ปี 2012 ประมาณ 60,000 ล้านบาท 
    • คาดปี 2013 ประมาณ 72,000 ล้านบาท
    • JMART ตั้งเป้าไว้ที่ 10,000 ล้านบาท หรือ 14%(sale value) ถ้าดูเป็น Sale Quantity ตั้งเป้าไว้ที่ 8%
  • สัดส่วนรายได้ใน Q1/13 Feature phone ลดลงเหลือ 10% ,Smart phone 64% และ Tablet 26%
  • ราคาขายเฉลี่ยต่อเครื่อง 6,250 บาท ราคาเฉลี่ยของตลาด 4,100 บาท
  • Accessory margin ดีมากประมาณ 30% และ growth rate สูง บริหาร stock ได้ง่าย บางอย่างไม่ Stock หากขายไม่หมด คืนสินค้าได้ถ้าเหลือคืนได้ JMART มีอำนาจต่อรอง supplier สูง Q1/2013 รายได้ 62 ล้านบาท
  • ปัจจุบันมี 80 ล้านเลขหมาย ใช้ 3G แค่ 20% อีก80% ที่เหลือคาดว่าจะเปลี่ยนเป็น 3G ภายใน 3 ปี
  • ร้านค้า IT, ร้านกล้อง และ Shop อื่นๆ มาเสนอขายพื้นที่ให้กับ JMART เนื่องจากธุรกิจหลักของตัวเองกำลังหดตัวบางรายก็กำลังอยู่ไม่ได้ 
  • Samsung เสนอให้ JMART นำสินค้าประเภทอื่นๆ ของตัวเองมาขายเพิ่ม นอกเหนือไปจากมือถือ และแท็บเล็ต
  • iDevice มี margin ต่ำ แต่ขายเพื่อภาพลักษณ์ และให้ร้านมีสินค้าครบครัน
  • Samsung Shop นั้น Contribute รายได้ให้กับ JMART ดีมาก
  • Franchise ของ JMART กลับมา Rerun อีกครั้ง หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้าในระยะเริ่มต้นยังไม่คาดหวังกำไรจากส่วนนี้ เป้าหมายตอนนี้คือ ทำอย่างไรให้ร้านค้า franchise เหล่านี้อยู่ได้
  • การจัดงาน Jaymart Mobile Show สำหรับสาขา Central ลาดพร้าวได้ผลตอบรับ และยอดขายน่าผิดหวัง ไม่ได้ดีมากมายเหมือนเมื่อก่อน กลับกันการจัดงานประเภทเดียวกันโดยใช้สถานที่จัดนอกเมืองได้ผลตอบ รับ และยอดขายที่ดีกว่ามาก เช่น การจัดงานที่ซีคอนสแควร์, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, Fashion Island, Future Park และหัวเมืองต่างจังหวัด
  • ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการบริโภคภายในประเทศ ยังไม่ส่งผลต่อการดำเนินงานของ JMART มากนักในบางพื้นที่รายได้อาจจะลดลงแต่หลายๆ จังหวัดยังขายได้ดีอยู่ และ JMART มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ
  • Jaymart พม่าเปิดสาขาแล้ว 3 แห่ง คาดจะเปิด 20 สาขาในปีนี้ และที่พม่า penetration rate 5% ของประชากร
  • แบรนด์อันดับ 1 ที่พม่าตอนนี้ คือ Huawei เนื่องจากคนพม่ามองว่าเป็นสินค้าที่ดี ตอบโจทย์การใช้งาน ทนทาน ราคาเหมาะสม
  • พัฒนาด้านการบริการให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งชื่อว่า JQS (Jaymart Quality Service) ซึ่งนำวิธีการที่ใช้ในญี่ปุ่นมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับในประเทศไทย (focus ที่ Customer needs, Standardization, Training, Quality control, system audit, customer satisfaction)
  • JAS Asset มีแผนจะเข้าตลาด MAI ในปี 2014 ปัจจุบันบริษัทมีการเติบโตที่ดีมาก
  • Margin 
    • Mobile 13% 
    • JMT 51% 
    • JAS  21%
JMT
  • JIB (บริษัทลูก JMT Insurance Broker) จะเริ่ม Run ในไตรมาส 3-4 ปีนี้
  • หนี้ก้อนแรกที่ซื้อเข้ามาในปี 2006 ปัจจุบันยังทำยอดเก็บได้เดือนละล้านกว่าบาท
  • ได้ license ใหม่ 2 ตัวคือ Debt acquisition และ Insurance broker
  • รวมยอดหนี้ที่ซื้อมาทั้งหมด 23,000 ล้านบาท โดยใช้เงินลงทุน 1,193 ล้านบาท 
  • AMC (บริษัทบริหารสินทรัพย์) กำลังเดินหน้า ซึ่งบริษัทประเภทนี้สามารถสวมสิทธิหนี้คดีความได้ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านการดำเนินคดี
  • Project เช่าซื้อรถยนต์ จะชะลอไปก่อน โดยจะไปเน้นที่การซื้อหนี้มาบริหารแทน
  • ปีนี้มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด 
  • ต้นทุนในการซื้อหนี้สูงขึ้นจากราคาที่ถูกปั่นขึ้นไป เนื่องจากผู้ขายเห็นว่า JMT มี margin สูงมากๆ (ปัจจุบัน 51%) และบางกรณีผู้ขายทำการแบ่งหนี้เป็นก้อนเล็กๆ เพื่อให้บริษัทเล็กๆ สามารถเข้าประมูลได้ เพราะหนี้ก้อนใหญ่ๆ มีแค่ JMT ที่มีศักยภาพพอที่จะประมูลได้
  • หนี้แต่ละก้อน จะมีการคำนวณ IRR ไม่เท่ากัน
  • การรับรู้รายได้จะทำการบันทึกโดยให้ตัดเงินลงทุนภายใน 5 ปี แต่หลายๆ กรณีตัดหมดที่เวลา 3 ปี (มีบ้างที่เกิน 5 ปี แต่เกิดขึ้นน้อยมาก)
  • วิธีการนี้ ทำให้กระแสเงินสดของบริษัทดีมาก (จนเกินไป) เนื่องจาก กลต. บังคับให้ทำการคำนวณแบบนี้ คือให้ Conservative แบบสุดๆ ทำให้ถึงแม้ว่าจะเก็บหนี้ได้เยอะ แต่รายได้ปีแรกๆอาจจะไม่เยอะเพราะไปหักลบในส่วนของเงินลงทุนออกไปก่อนเยอะมากพอตัดเงินลงทุนหมด ถึงจะรับรู้รายได้ 100%
**ใช้สูตรคำนวณ รายได้ = ยอดหนี้ที่เก็บได้ – (IRR*เงินลงทุนคงเหลือ)

ขอขอบคุณ คุณAmnaj,คุณหนุน, คุณPitchaya,และคุณจุ๋ย (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Company Visit)
เรียบเรียงโดย The Youngblood Way


7/06/2556

พฤติกรรมโลกออนไลน์ 2556

 สัดส่วนการใช้งานอินเตอร์เน็ต
  • Desktop/PC ใช้งานอินเตอร์เน็ต 45%
  • Notebook ใช้งานอินเตอร์เน็ต 25.3% 
  • Mobile ใช้งานอินเตอร์เน็ต 22.7%
  • Tablet ใช้งานอินเตอร์เน็ต 6.8%
  • อื่นๆ 0.2%
ใช้งานบนโลกออนไลน์
  • อันดับ 1 E-mail
  • อันดับ 2 ค้นหาข้อมูล
  • อันดับ 3 การพูดคุยกับเพื่อนบน Social Network

กิจกรรมที่คนโลกออนไลน์นิยมทำ
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 85.7%
  • การอัพเดตข้อมูลข่าวสาร 64.6%
  • การอัพโหลดรูปภาพ/วิดีโอ 60.2%
  • การซื้อขายสินค้าและบริการ 21.8%
  • หาเพื่อนใหม่/ติดต่อเพื่อนเก่า 19.7%
  • อื่นๆ 3.6%

สินค่าที่คนนิยมซื้อบนโลกออนไลน์
  • สินค้าแฟชั่น รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า
  • อุปกรณ์ IT อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ

จากวิจัยกระทรวง ICT (กรุงเทพธุรกิจ)