เรื่องที่ทำให้เศรษฐกิจดี
เรื่องแรก : ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
สหรัฐอเมริกามีเทคโนโลยีใหม่ที่จะระเบิดชั้นหินดินดานลึก ลงไปใต้ดินถึงกว่า 2 กม. แล้วอัดน้ำลงไปเอาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นผลสำเร็จ และสามารถนำมาใช้ทดแทนการนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางมากขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณการผลิตจะแซงหน้าประเทศซาอุดีอาระเบียได้ในปี 2556 และอาจจะกลายเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในอนาคตข้างหน้า
บัดนี้เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมแล้ว เพราะซาอุดีอาระเบียได้ประกาศลดการผลิตของตนลงวันละ 1 ล้านบาร์เรล เมื่อเป็นเช่นนี้สัญญาณก็ค่อนข้างชัดว่าราคาน้ำมันน่าจะมีแนวโน้มลดลง การที่สหรัฐอเมริกาเริ่มบอกขายก๊าซธรรมชาติระยะยาวให้กับประเทศที่ทำสัญญา เขตการค้าเสรีกับอเมริกาและประเทศที่เป็นพันธมิตรที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ก็น่าจะเป็นข่าวดีกับประเทศของเรา เพราะค่าเงินดอลลาร์น่าจะแข็งขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยทางการของธนาคารกลางประกาศว่าจะคงที่ ซึ่งอาจถึง 0.25 เปอร์เซ็นต์ไปอีก 2 ปี
เรื่องสอง การลงทุนจากญี่ปุ่น
- ญี่ปุ่นมีปัญหาจะต้องปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศทั้งหมดใน 18 ปีข้างหน้าและต้องหันกลับมาใช้พลังงานธรรมดา ซึ่งน่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของญี่ปุ่นคงต้องสูงขึ้นอย่างมาก สร้างความหวั่นไหวให้กับภาคเอกชนของญี่ปุ่น
- ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเกาะเซนกากุ หรือที่จีนเรียกว่าเกาะเตียวหยู เป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้ง อันมีรากฐานมาจากความเป็นชาตินิยมของทั้งสองฝ่าย
ทั้งสองปัจจัยเป็นสาเหตุให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นหาทางโยกย้ายอุตสาหกรรมออกจาก ญี่ปุ่นและจีน ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสดีของประเทศไทย ถ้าเราเร่งปรับปรุงพัฒนาถนนหนทาง ท่าเรือน้ำลึก สนามบินโดยเร็ว เพื่อรองรับโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น
เรื่องสาม จีนขยายเศรษฐกิจ ไทยได้ประโยชน์
ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจของจีนยังเดินหน้าต่อไปทั้งๆ ที่ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นอย่างมาก ขณะนี้สูงกว่าประเทศของเราแล้ว ก็น่าจะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนเก่า โดยเฉพาะประเทศไทยคงเป็นประเทศที่น่าจะได้เปรียบที่สุด เพราะที่ตั้งของประเทศอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ไม่ต้องลงทะเลอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
เรื่องสี่ พม่าเปิดประเทศ ไทยได้ประโยชน์
การเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่ของประเทศเมียนมาร์ จะพาประเทศก้าวไปสู่ประชาธิปไตย จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศก็คงไม่หนีประเทศไทยที่น่าจะได้รับประโยชน์ร่วมกับประชาชนชาวพม่า ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีเงินทุน มีทรัพยากรมนุษย์ มีที่ตั้งเป็นประตูไปสู่พม่า รวมทั้งความสัมพันธ์ทางการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
เรื่องห้า รถไฟฟ้าความเร็วสูง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของภูมิภาค ซึ่งในระยะข้างหน้านี้เน้นในเรื่องการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค หรือที่เรียกกันว่า "Connectivity" โดยมีจีนและญี่ปุ่น ซึ่งมีเงินทุนและเครือข่ายการตลาดที่เข้มแข็งกระจายไปทั่วโลก เป็นหัวเรือใหญ่ที่จะทะลุเชื่อมโยงปักกิ่ง เฉิงตู คุนหมิง เวียงจันทน์ กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ ไปถึงสิงคโปร์
ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ผลักดัน การเชื่อมโยงทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามัน เพราะช่องแคบมะละกาที่ดูเหมือนกว้าง แต่ร่องน้ำสำหรับเดินเรือแคบนิดเดียว ไม่กี่ไมล์ทะเล เรือเดินสมุทรต้องรอคิวผ่าน 2-3 วัน และนับวันจะมีการจราจรคับคั่งยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นผลักดันให้เปิดท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย แล้วมีทางด่วน ทางรถไฟทั้งธรรมดาและรถไฟความเร็วสูง ระยะแรกเชื่อมท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดกับแหลมฉบังเข้ากับท่าเรือที่เมืองทวาย เปิดประตูสู่พม่า บังกลาเทศ และอินเดีย
ยุทธศาสตร์เชื่อมโยง เหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตกมาพบกันที่ประเทศไทยของเรา รัฐบาลไทยขานรับในขณะที่เราสะสมเงินออมมานานกว่า 15 ปี เอกชนไทยเข้มแข็งพอสมควร โอกาสอย่างนี้เพิ่งเกิดในระยะ 5-6 ปีที่แล้ว เรามัวแต่ยุ่งๆ อยู่กับการไล่ล่ากัน จึงไม่มีใครคิดถึง
เรื่องหก นักท่องเที่ยวจากจีนเยอะขึ้น
เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด เมื่อคราวเกิดน้ำท่วมใหญ่ เริ่มจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวก่อนเพราะกองทัพนักท่องเที่ยวจีน ทะลักเข้ามาแทนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น นักท่องเที่ยวยุโรปและอเมริกาเป็นจำนวนมาก เพราะเศรษฐกิจเขายังไม่ชะลอตัวอย่างที่คิด ยิ่งจีนกับญี่ปุ่นมีความตึงเครียดทางการเมือง นักท่องเที่ยวก็หันมาประเทศอาเซียนมากขึ้น และในบรรดาอาเซียน ประเทศไทยก็เป็นศูนย์กลางที่จะต่อไปนครวัด ไปย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ ไปเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ไปเวียดนาม ทั้งฮานอย และไซ่ง่อน
เรื่องที่เป็นตัวถ่วงและปัญหา
เรื่องแรก
เรื่องการเมืองที่ทะเลาะกันไม่เลิก การใช้กำลังทหารปฏิวัติยึดอำนาจ
เรื่องสอง
การทะลักเข้ามาของเงินทุนระยะสั้น หรือที่เรียกว่า "hot money"
จะรุนแรงขึ้น
ถ้าความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินบาทกับดอกเบี้ยเงินดอลลาร์ยังจะสูงอยู่
อย่างนี้ เพราะความกลัว "เงินเฟ้อ" ซึ่งไม่น่าจะมีจนเกินไปของทางการ
เงินบาทอาจจะแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเศรษฐกิจทั้งระบบปรับตัวไม่ทัน
โอกาสที่พูดมาทั้งหลายก็อาจจะไม่เกิด
รายละเอียดฉบับเต็มที่ prachachat.net
รายละเอียดฉบับเต็มที่ prachachat.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น