เมื่อดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจะเห็นว่าเงินสดดำเนินงานปี 2555 ติดลบอยู่ ดูแล้วตัวเลขส่วนนี้โยกไปอยู่สินค้าคงเหลือส่วนใหญ่ (มีลูกหนี้การค้าบ้างเล็กน้อย) แปลว่าสินค้าใน stock ตอนนี้เยอะกว่าปกติ
ข้อดีคือซื้อเยอะๆ ได้ราคาถูกกว่าปกติ ข้อเสียคือเสี่ยงสินทรัพย์ด้อยค่า
อัพเดต:
ข้อมูลยังไม่ถูกนะครับ แต่ผมไม่ลบเก็บไว้ศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากอยู่ๆ ผมก็นึกถึง Jay Market ขึ้นมาได้
รายได้ค้างรับ ที่เป็นตัวเลขในวงนั้นคือ "เพิ่มขึ้น" หมายความว่า ส่งสินค้าแล้วยังไม่ได้รับเงิน ถ้าทวงเงินไม่ได้ก็ขาดทุน
ดร. ภาพร เอกอรรถพร
จริงๆ
รายการที่คุณพูดถึง 2 รายการคือ
สินค้าคงเหลือและรายได้ค้างรับมีธรรมชาติที่เหมือนกันคือ
เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งคู่
การที่สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้นมีนัยว่าเงินสดลดลง หรือในทางกลับกัน
เราสามารถตีความได้ว่า บริษัทจ่ายเงินซื้อสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น
และให้ลูกค้าค้างเงินบริษัทมากขึ้น (รายได้ค้างรับคือ
บริษัทให้บริการลูกค้าไปแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่ได้จ่ายเงิน)
สินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น
ถ้าเพิ่มเป็นปกติธุรกิจเนื่องจากขายขยายตัว ก็อาจไม่มีอะไรเสียหาย
แต่ถ้าเพิ่มผิดปกติ ต้องหาเหตุผลประกอบว่าทำไม
อาจเป็นเพราะบริษัทอาจเก็งกำไรเพราะสินค้ากำลังขาดตลาด
หรือต้องการซื้อปริมาณมากเพื่อให้ได้ส่วนลด หรือคาดว่าราคากำลังจะขึ้น
หรือขายสินค้าไม่ออก ฯลฯ
แต่สินค้าที่ซื้อเพิ่มขึ้นอาจไม่เป็นข้อบ่ง ชี้ว่าสินค้าจะล้าสมัยหรือไม่ (หรืออาจจะเป็น) พูดยากค่ะ คุณต้องดูอัตราส่วนอื่นประกอบ เช่น อัตราส่วนที่ใช้วัดว่าสินค้าน่าจะล้าสมัยคือ อัตราหมุนของสินค้าคงเหลือและจำนวนวันที่ถือสินค้าคงเหลือ ถ้ายิ่งยาวยิ่งมีโอกาสที่สินค้าคงเหลือนั้นจะล้าสมัยมากขึ้น
การ ประเมินสินค้าคงเหลือคงต้องดูหลายอย่างประกอบกัน การดูเฉพาะงบกระแสแล้วสรุปทันที อาจให้ข้อสรุปที่ไม่เที่ยงตรงทีเดียว เพราะแม้สินค้าคงเหลือเพิ่ม แต่ถ้าขายและต้นทุนขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงเหลืออาจไม่เป็นปัญหาเลย
แต่สินค้าที่ซื้อเพิ่มขึ้นอาจไม่เป็นข้อบ่ง ชี้ว่าสินค้าจะล้าสมัยหรือไม่ (หรืออาจจะเป็น) พูดยากค่ะ คุณต้องดูอัตราส่วนอื่นประกอบ เช่น อัตราส่วนที่ใช้วัดว่าสินค้าน่าจะล้าสมัยคือ อัตราหมุนของสินค้าคงเหลือและจำนวนวันที่ถือสินค้าคงเหลือ ถ้ายิ่งยาวยิ่งมีโอกาสที่สินค้าคงเหลือนั้นจะล้าสมัยมากขึ้น
การ ประเมินสินค้าคงเหลือคงต้องดูหลายอย่างประกอบกัน การดูเฉพาะงบกระแสแล้วสรุปทันที อาจให้ข้อสรุปที่ไม่เที่ยงตรงทีเดียว เพราะแม้สินค้าคงเหลือเพิ่ม แต่ถ้าขายและต้นทุนขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงเหลืออาจไม่เป็นปัญหาเลย
การวิเคราะห์งบกระแส
เงินสดให้เน้นไปที่เรื่องของเงินสดว่าได้มาจากไหน ไหลออกทางไหน
พอใช้หรือเปล่า
แต่อาจไม่สามารถคิดไกลไปถึงประสิทธิภาพของการบริหารสินค้าคงเหลือค่ะ
ส่วน
รายได้ค้างรับ ให้วิเคราะห์เช่นเดียวกับลูกหนี้
ในงบกระแสเงินสดเพียงแค่บอกว่ารายได้ค้างรับเพิ่มขึ้น
แต่เพิ่มแล้วดีไม่ดีอย่างไร ต้องไปวัดกันที่อัตราส่วนในการบริหาร เช่น
อัตราการหมุนของลูกหนี้ จำนวนวันในการเก็บหนี้ และอื่นๆ เช่น แนวโน้ม
อัตราส่วนร้อยละของยอกรวม ฯลฯ
ถ้าลูกค้าจ่ายเงินแล้ว เรายังไม่ได้ให้บริการเรียก รายได้รับล่วงหน้า ถือเป็นหนี้สินค่ะ ผลกระทบต่องบกระแสเงินสดคือ หนี้สินเพิ่ม เงินสดเพิ่ม
ถ้าลูกค้าจ่ายเงินแล้ว เรายังไม่ได้ให้บริการเรียก รายได้รับล่วงหน้า ถือเป็นหนี้สินค่ะ ผลกระทบต่องบกระแสเงินสดคือ หนี้สินเพิ่ม เงินสดเพิ่ม