หน้าแรก

12/31/2555

EASTW : Opp day Sep 4, 2012

EASTW : ช่วงที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ 2554 ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมย้ายฐานมาฝั่งตะวันออกสังเกตจาก BOI ส่วนนี้จะได้รับผลดีประมาณ 1-2 ปีครั้งหน้า รวมทั้งภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยว ผลกระทบที่กังวลวิกฤตยุโรปหวังว่าจะไม่กระทบการส่งออกปิโตรเคมีมาก และกังวลฝนตกไม่เข้าอ่าง ไปเข้าท้ายอ่าง แต่ยืนยันว่าถึงมีภัยแล้งก็ต้องมีน้ำขายอาจจะกระทบต้นทุนบ้าง
  • นักท่องเที่ยวพัทยาเติบโต คาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวปี 2012 จะโต 7.7 พันล้าน จาก 7.3 พันล้าน yoy และคาดว่านักท่องเที่ยวจะเพิ่มจาก 7 ล้านคนต่อปีเป็น 10 ล้านคนต่อปีใน 3 ปีข้างหน้า  
  • กันยา-ตุลา น้ำเข้ามาก, ครึ่งปีหลังมีค่าใช้จ่ายค่าไฟ ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น
  • ปี 2012 รายได้เติบโต 8-9% yoy
  • งาน SPP ที่เหมราชปี 2015, งานกลุ่ม PTT ปี 2015, งาน Gateway City การขยายตัว 2016-2017
  • ประเด็นในอนาคตมองเรื่องการอิ่มตัวในอีก 5-10 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมขยายตัวแต่แหล่งเก็บน้ำมีจำกัด เลยมองทางด้านอื่นอยู่ 
  • น้ำที่ต้องจัดให้ลูกค้าวันนี้ประมาณ 300 ล้านคิว อีก 10 ปีข้างหน้ามองว่าต้องใช้ 460-500 ล้านคิว ถ้าทั้งหมดต้องพึ่งฝนจะมีความเสี่ยงแบบมีนัยสำคัญ
  • ปี 2002-2006 CAGR 7.86% , ปี 2007-2011 CAGR 17.98%
  • รายได้น้ำดิบ 1,296.14 ล้านบาท, รายได้น้ำประปา 500.03 ล้านบาท
  • น้ำดิบอยู่ที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 68%, กลุ่มผู้อุปโภคบริโภคผ่านระบบประปา 32% แยกตามสัมปทาน ระยอง 21%, สัตหีบ 20%, ฉะเชิงเทรา 15%, บางประกง 13%, ชลบุรี 9%
  • ช่วง 2 ไตรมาสแรกต้นทุนขายน้ำดิบลดลง 5% yoy เป็นน้ำดีจากปีที่แล้ว
  • กำไรสุทธิ 2Q2012 39% ปรับตัวสูงขึ้นจาก 31% yoy
  • กำไรขั้นต้น 2Q2012 71.56% ปรับตัวสูงขึ้นจาก 67.07% yoy
  • ปี 2011 กำไรต่อหุ้น(EPS) 0.61 บาท ปันผลไป 0.42 บาท
  • 1H2012 กำไรต่อหุ้น(EPS) 0.42 บาท ปันผลไปแล้ว 0.20 บาท 
  • แหล่งน้ำที่ใช้ในระยอง: ดอกกราย หนองปลาไหล คลองใหญ่ ประแสร์ ทัพมา(กำลังสร้างใหม่เฟสแรกเสร็จปี 2014)
  • แหล่งน้ำที่ใช้ในชลบุรี: บางพระ(ลงทุนสถานีสูบน้ำในปีนี้เพิ่ม) หนองค้อ
  • ลงแหล่งน้ำในปีนี้ 'บางพระ' เสร็จภายในปีหน้า, 'ทัพมา' โครงการยาวเฟสแรกเสร็จปลายปี 57 เฟส 2 เสร็จภายในปี 60 
  • คาดการณ์การใช้น้ำดิบโตเฉลี่ยปีละ 3-6% 284(2012F) 303(2013F) 312(2014F) 325(2015F)  
  • คาดการณ์การใช้น้ำประปาโตเฉลี่ยปีละ 5.5%
Q&A
  • ประเมินกรณีแย่ที่สุดกรณีภัยแล้ง ต้องเสียต้นทุนเพิ่มขึ้นในการสูบน้ำไม่เกิน 66-70 ล้านบาท เทียบกับต้นทุนโดยรวมไม่เกิน 10%
  • ฐานราคาน้ำปี 55 56 57 เป็น 10.00 10.50 11.00 บาท ตามลำดับ
  • ปราจีนบุรีเราไม่มีแหล่งน้ำ ไม่ได้รับการประสานให้ช่วยมาเลยทางนี้
  • เชื่อว่าปีหน้าจะยังคงอัตรากำไรขั้นต้นได้อย่างที่เติบโตในปีนี้
 เว็บสรุปสถานการณ์น้ำ จ. ระยอง http://203.156.163.38/sa_emc2/index.php


12/30/2555

คำถามจาก Warren Buffett ถึงผู้บริหาร


วอร์เรนจะไปพูดคุยกับลูกค้าของบริษัท ซัพพลายเออร์ของบริษัท และพนักงานเก่า คือ ทุกคน ทุกที่
ถ้าเขาสนใจในธุรกิจเหมืองเขาก็จะไปดูบริษัทเหมืองทุกๆ ที่ คำถามที่วอร์เรนคุยกับซีอีโอ
1. ถ้าคุณจะซื้อสต๊อกของบริษัทเหมืองบริษัทอื่นที่ไม่ใช่คุณ คุณคิดว่าใครน่าสนใจ?  ทำไมครับ?
2. แล้วคู่แข่งล่ะ ถ้าคุณมีปืนอยู่ในมือและคุณยิงใครทิ้งก็ได้โดยไม่ผิดกฎหมายคุณอยากซัดใคร? ทำไม?

12/29/2555

PAE : Opp day Dec 12, 2012

โครงสร้างธุรกิจ
PAE โครงสร้างอยู่ในกลุ่ม Hydrocarbon (พวกน้ำมัน ก๊าซ ปิโตรเคมี)
1. งานทางวิศวกรรม - ออกแบบวิศวกรรม, ออกแบบปิโตรเคมี
2. งานด้านการประกอบ - โรงประกอบที่ระยอง ระบบท่อ, โครงสร้างเหล็ก
3. งานทั้งบนฝั่งและนอกชายฝั่ง (Onshore & Offshore)
     - ที่สงขลา แถวอ่าวไทยตอนล่าง ลูกค้าหลักคือบริษัทเชฟรอน
     - งานบนบก S1 ได้งานจาก PTTEP มีศูนย์อยู่ที่ จ.พิษณุโลก งานระบบท่อโครงการแรกระยะ 3 ปี วงเงิน 1,000 - 1,400 ล้านบาท
4. งานก่อสร้างพวกสาธารณูปโภคต่างๆ สร้างโครงโรงงาน คอนโด และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ 
5. งานตรวจสอบแบบไม่ทำลาย บริษัทลูกรับผิดชอบ PAE Technical Services (P-Tech)

ความคืบหน้าโครงการ
  • งาน PTTGC ทำเครื่องควบคุมไอระเหยน้ำมัน (Vapor Recovery Unit) แล้วเสร็จ 95.40% (อัพเดต 30 Nov)
  • งานหาดใหญ่ ระบบบำบัดน้ำเสีย (Waste Water Treatment Plant) ของบริษัท SIEMENS แล้วเสร็จ 70.00% (อัพเดต 30 Nov)
  • งานเชฟรอน งานติดตั้งระบบวิศวกรรม GLCC 8 แพลทฟอร์ม แล้วเสร็จ 75.00% (อัพเดต 30 Nov)
  • งานเชฟรอน งานติดตั้งอุปกรณ์ที่แท่นผลิตปลาทอง แล้วเสร็จ 50.00% (อัพเดต 30 Nov)  
  • งานเชฟรอน งานติดตั้งแท่นที่ ฟูนานกับสตูล แล้วเสร็จ 25.00% (อัพเดต 30 Nov) 
  • งานเชฟรอน งานติดตั้งที่เบณจมาศและทานตะวัน ติดตั้ง PIG Launcher ,ระบบ Vent แล้วเสร็จ 100.00%
  • งานโครงการก่อสร้างคอนโดรัชดา-วิภาวดี แล้วเสร็จ 11.32% (อัพเดต 30 Nov) 
  • งานโครงการก่อสร้างที่งเขาหลัก จ.พังงา แล้วเสร็จ 90.05% (อัพเดต 30 Nov)
  • งานโครงการก่อสร้างเวเนเซียที่หัวหิน เหมือนคอมมูนิตี้ มอลล์ แล้วเสร็จ 80.00% (อัพเดต 30 Nov)
ผลประกอบการ Q3 2555
  • รายได้ลดลง ทำให้ Q3 ออกมาขาดทุน 250 ล้านบาท ขาดทุน 30 กว่าสตางค์ต่อหุ้น
  • เหตุผลที่ขาดทุน งานก่อสร้างพวกสาธารณูปโภคทำงานล่าช้า จากน้ำท่วม, ขาดแคลนแรงงานจากข่าวลือซึนามิ, รับรู้ขาดทุน Books ขาดทุนไป 110% 
  • *รายได้รับรู้สไลด์หน้า 31
  • *งานกำลังประมูลสไลด์หน้า 33
Q&A
  • ผู้บริหารพิจารณา P-Tech เข้าตลาดหลักทรัพย์อยู่เหมือนกัน
  • พักงานด้าน communication ไว้ก่อน ลดภาระรายจ่าย ปัจจุบันไม่มีพนักงานด้านนี้
  • GPS ไม่ได้เพิ่มทุน ไม่ทราบเหตุผล
  • มี backlog เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่มา Opp day
  • เซ็นต์ MOU กับทางบริษัทก่องสร้างมาเลเซีย กำลังจะรับงานอันดามันร่วมกัน เป็นงานแท่นผลิต
  • งาน Oil&Gas มี margin เฉลี่ย 10-15% , งานโครงสร้าง margin เฉลี่ย 7-10%
  • มีโอกาสได้งานบางส่วนจาก IRPC ชื่อโครงการฟีนิกซ์, ร่วมถึงงาน PTTGC PTTEP 
ปล. คุณอภิสิทธิ์เข้ารับตำแหน่งประธาน ส.ค.53



JMART : 56-1 ปี 2554

1. ข้อมูลทั่วไป
      ทุนจดทะเบียน : 420,000,000 บาท
      ทุนชำระแล้ว    : 300,000,000 บาท (ปัจจุบัน 411,710,529 บาท)
      ราคาพาร์        : 1 บาท

2. ปัจจัยความเสี่ยง
  2.1 ความเสี่ยงจาการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ (JMART)
    2.1.1 ความเสี่ยงจากการด้อยค่าของสินค้าคงคลัง
  • ณ วันที่ 31 ธันวา 2554 บริษัทจัดเก็บสินค้าคงคลังคิดเป็นสัดส่วนร้อย 29.39 ของสินทรัพย์รวม
  • สินค้าหลักของบริษัทได้แก่ เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์เสริม
  • โดยปกติสินค้าแต่ละตัวจะมีอายุเฉลี่ยจำหน่ายหน้าร้านประมาณ 20-25 วัน
  • ปี 2554 ระยะเวลาการเก็บสินค้าคงคลังที่ 38 วัน น้อยกว่าเป้าหมาย (50 วัน)
  • ตั้งค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย 8.49 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของรายได้ธุรกิจจัดจำหน่าย
  • สำหรับผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ บริษัทและผู้ผลิตมือถือจะร่วมกันวางแผนประมาณการยอดขายเพื่อกำหนดสินค้าคงคลัง ถ้ามีข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะรับผิดชอบในบางส่วน เช่น เงินชดเชย ,ของแถมเพื่อโปรโมทสินค้า
    2.1.2 ความเสี่ยงจากการพึ่งพากลุ่มลูกค้า (Supplier) รายสำคัญ 
  • สินค้าหลักเป็นของ 5 แบรนด์ ได้แก้ Nokia, Samsung, LG, Blackberry และ iPhone (ปัจจุบันมี Sony, Acer, Oppo, HTC เพิ่มเข้ามา)
  • สัดส่วนการขาย Nokia 24.8%, Samsung 42.0%, LG 6.1%, Blackberry 18.1% และ iPhone 4.1%
    2.1.3 ความเสี่ยงจากการที่ธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง
  • ธุรกิจค้าปลีกมือถือใช้เงินลงทุนไม่มากและโครงสร้างการดำเนินธุรกิจไม่ซับซ้อน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันใหม่อาจเป็นบริษัทข้ามชาติรายใหญ่
  • ผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ผลิตมือถือ, ผู้ให้บริการเครือข่าย หรือผู้ให้เช่าพื้นที่ค้าปลีก 
  • ช่วงเศษฐกิจตกต่ำอาจทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาซื้อสินค้าทดแทน เช่น มือสอง, สินค้านำเข้า, สินค้าลอกเลียนแบบที่มีราคาถูก  
  2.2 ความเสี่ยงจาการดำเนินธุรกิจพื้นที่เช่า (JAS Asset)
    2.2.1 ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงเจ้าของพื้นที่ และการไม่ได้รับการต่อสัญญา
  •  บริษัทเช่าพื้นที่มาจากห้างและโมเดิร์นเทรด เช่น Big C ส่วนเป็นเป็นสัญญาเช่า 1-3 ปี 

  2.3 ความเสี่ยงจาการดำเนินธุรกิจบริการติดตามเร่งรัดหนี้ (JMT)
    2.3.1 ความเสี่ยงจากการฟ้องร้องคดีอันเกิดจากการติตตามหนี้ 
  •  ที่ผ่านมาบริษัทยังไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากกลุ่มลูกหนี้
    2.3.2 ความเสี่ยงจากการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม
  • ช่วงเวลาติดตามหนี้ตั้งแต่เวลา 8.00น. - 20.00 น. เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์
  • ในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยได้รับแจ้งจากกลุ่มผู้ว่าจ้างในการร้องเรียนติดตามหนี้ที่ไม่เหมาะสมของบริษัทแม้แต่รายเดียว
 2.4 ความเสี่ยงจาการลงทุนซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ (JMT)
  • บริษัทซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจาก บริษัทเช่าซื้อ บริษัทเงินทุน และธนาคาร 
  • ปัจจุบันซื้อหนี้รวม 32 สัญญา มูลค่าเงินลงทุน 655 ล้านบาท
 2.5 ความเสี่ยงจาการดำเนินธุรกิจโดยมีอัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิต่ำ และพึ่งพิงรายได้ส่งเสริมการขาย
  • ปี 53 และ 54 มีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 13.28 และ 14.07 อัตรากำไรสุทธิ 1.78 และ 2.83 ตามลำดับ
  • หากเกิดการผันผวนทางธุรกิจ เช่น ปรับลดราคาสินค้า หรือได้รับค่าส่งเสริมการขายน้อยลง ก็จะทำให้บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนทันที
  • JMART เป็นธุรกิจหลักของบริษัท แต่เป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรต่ำ โดยปี 2554 มีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 9.57 ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม
  • ลดความเสี่ยงไปที่ JAS Asset และ JMT ปี 2554 มีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 16.58 และ 47.80 ตามลำดับ 
  • JMART อยู่ในช่วงเติบโตเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด หากเติบโตได้ตามเป้าหมายก็จะทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้น ซึ่งทำให้อัตรากำไรในอนาคตสูงขึ้นด้วย 

3. ลักษณะการประกอบธุรกิจ
  3.1 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ
  •  JMART ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 ธันวา 2531 โดยนายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา และนางสาวยุวดี พงษ์อัชฌา ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท
  • เริ่มต้นธุรกิจด้วยการเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกยี่ห้อเงินผ่อน ต่อมาปี 2535 จำหน่ายมือถือผ่านระบบเงินสด ระบบผ่อนชำระ และระบบขายส่ง
  • ปี 2552 เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่นักลงทุนทั่วไป 75 ล้านหุ้น
  3.2 ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย
  • JMART -> JMT 75% (นักลงทุนทั่วไป 25%) ทุนจด 300 ล้านบาท -> JMT Plus 99.99% ทุนจด 1 ล้าน
  • จำหน่ายชุด SIM Card และบัตรเติมเงิน
  • ค้าส่ง (Wholesaler) 
    • ค้าส่งให้กับร้านค้าปลีกในระบบ (Organized Shop) และร้านค้าย่อยอิสระ (Non-Organized Shop) บริษัทเน้นการขายส่งผ่านร้าน Jay Mart ใน IT Junction
    • ค้าส่งรายใหญ่ของ Samsung ระดับ Retail Partner โดยบริษัทสามารถจำหน่ายหรือกระจายแบบค้าส่งได้ใน จ.พิษณุโลก
    • ได้สิทธิ Sole Distributor ของสินค้าบางรุ่น ตามข้อตกลง
  • ค้าปลีก (Retailers) - มีขายครบทุกแบรนด์
  • IT Junction 27 สาขา ทั้งใน กทม. และ ตจว. ภายใต้ศูนย์การค้าใหญ่ เช่น เซ็นทรัล, Big C
  • JMT ติดตามหนี้ให้, ซื้อหนี้มาบริหารเอง, ให้บริการด้านกฎหมาย
    • หนี้กลุ่มสินเชื่อบุคคล หนี้สินบัตรเครดิต หนี้สินค่าสาธารณูปโภค และหนี้สินค่าบริการ
    • ผู้ว่าจ้างที่เป็นเจ้าหนี้ ประกอบด้วย ธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัทเช่าซื้อ เป็นหลัก
   3.3 โครงสร้างรายได้ของบริษัทและบริษัทย่อย

   3.4 เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ
  • เน้นขยายสาขาในส่วน Modern Trade และสาขาที่ขยายตาม IT Junction เป็นหลัก
  • จัดอบรมสัมมนาพลักงานต่อเนื่องทุกสัปดาห์
  • เพิ่มสินค้าเทคโนโลยี 3G และขยายการ Product Line ในส่วนอุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี
  • ขยายสาขา IT Junction เพิ่มเบื้องต้นมุ่งเน้น Big C (ซื้อคาร์ฟูร์ทำให้มีสาขาเพิ่ม 34 สาขา แต่ตรงนี้ยังเข้าไปไม่ได้ติดสัญญายังไม่เรียบร้อย)
  • ติดตามหนี้เน้นลูกค้ากลุ่มธนาคาร, ประเมินผลติดตามหนี้เทียบต้นทุนอย่างละเอียดเป็นประจำทุกไตรมาส

(ติดไว้แค่นี้ก่อนครับ เยอะเหลือเกิน..)

12/25/2555

HMPRO : Opp day Feb 27, 2012

HMPRO บอกว่าปกติออก opp day ปีละ 1 ครั้ง
  • มี 46 สาขา ณ วันที่ออก opp day (สาขาล่าสุดจังหวัดตรัง)
  • ตั้งมา 16 ปี, เข้าตลาดปี 2001 ,เข้า SET100 ปี 2006, เข้า SET50 ก.ค.2010
  • โครงสร้างผู้ถือหุ้นยังคงเป็น LH และบริษัทลูก QH รวมถือหุ้น 50%
  • สาขาใน กทม. 19 สาขา, ใน ตจว. 26 สาขา รวม 45 สาขาในสิ้นปี 2011
  • ยอดขายปี 2011 เพิ่มขึ้น 17.8% yoy และโดยรวม CAGR โต 14.8%
  • กำไรปี 2011 เพิ่มขึ้น 22.4% yoy และโดยรวม CAGR โต 27.7%
  • กำไรสุทธิคิดเป็น % ต่อยอดขาย ปี 2011 คือ 7.1%
  • บริษัทมีโครงการทำห้องน้ำให้เด็กใน ตจว. มาแล้ว 5 ปี
  • อีกโครงการให้ทุนเรียนฟรีระดับ ปวส.
ช่วง Q&A ไม่มี ผู้บริหารให้ส่งคำถามมาที่ IR แทน 


CPN : แผนปี 2013 & 2014

CPN ยังคงเดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่องให้ได้ปีละ 3-4 สาขา จนครบ 30 สาขาในสิ้นปี 2015

ในปี 2013 ตั้งเป้ายอดขายโต 15% ด้วยการเปิดห้าง 3 สาขา
  • เซ็นทรัลพลาซ่า อุบลราชธานี (เมษา 2013) 
  • เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ (ตุลา 2013)
  • เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ (พฤศจิ 2013)
 เนื่องจากการลงทุนต้องให้เงินจำนวนมากผู้บริหารจึงพิจารณาขาย เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และ เซ็นทรัล รามอินทรา เข้ากองทุน CPNRF อาจมีการขายสำนักงานเข้ากองทุน CPNCG ด้วยอยู่ในระหว่างพิจารณา 

ในปี 2014 เปิดอีก 3 สาขา
  • เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย (มกรา 2014)
  • เซ็นทรัล พุทธมณฑล
  • เซ็นทรัล ระยอง
ในปี 2015 
  • เซ็นทรัล บางใหญ่ ที่จะมีการเซ็นสัญญาที่ดินในปลายเดือนมกรา และเริ่มสร้างเดือนกุมภา

ปี 2014 นี้คาดว่าน่าจะมีการขาย 1.พัทยา เซ็นเตอร์ 2.เซ็นทรัล บางนา 3. เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ เข้ากองทุน CPNRF โดยให้ความสำคัญในการขายก่อน ตามลำดับ

สำหรับที่ดินตรงส่วนลุมไนท์และไทเลม่อน(รังสิต) ยังไม่มีแผน
สำหรับต่างประเทศในอาเซียนจะขยายอินโดนีเซียเป็นที่แรก, ฟิลิปปินส์ก็น่าสนใจแต่เขามีห้างที่แข็งแกร่งอยู่, มาเลเซียคงยังไม่ได้ ประเทศเขาไม่เหมาะกับเรื่องบันเทิง อาจเป็นที่เรื่องศาสนา 

12/23/2555

CPN : ประชุมผู้ถือหุ้นเช่าที่บางใหญ่ Dec 11, 2012

CPN : เรื่องการเช่าที่ดินบางใหญ่ นนทบุรี 98 ไร่ ระยะเวลา 30 ปี กับผู้ช่วยการเงิน MayBank
  • ตั้งอยู่ 4 แยก ทำเลสวยมาก ทางเข้า-ทางออก หลายทาง สถานีรถไฟฟ้า MRT ใกล้แล้วเสร็จ 
  • ทำสัญญาเช่ากับบริษัท Vantage ในกลุ่มเซ็นทรัล
  • ลงทุนพื้นที่เช่าทั้งสิ้น 5,098.68 ล้านบาท (ยังไม่บวกค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก 78 ล้านบาท) ในกรณีที่มีการคิดมูลค่าปัจจุบันของค่าตอบแทนเช่าและค่าเช่ารายปีที่อัตราคิดลด 12% (12% ตัวเลขจากผลตอบแทนขั้นต่ำที่ CPN ต้องการจากการลงทุนนี้) จะได้ 1,479.54 ล้านบาทที่ต้องจ่ายให้ Vantage
  • จ่ายงวดแรก 654.96 ล้านบาท 3 ปีแรกจ่ายปีละ 5.28 ล้านบาท ปีที่ 4-6 จ่ายปีละ 87.93 ล้านบาท และเพิ่มรายจ่ายประมาณ 15% ต่อ 3 ปี
  • เบื้องต้นทำศูนย์การค้าก่อน อนาคตมีการพัฒนาเพิ่ม
  • ปลายมกราทำสัญญาเช่า เริ่มก่อสร้างกุมภา
  • ความเห็นของ IFA เริ่มที่สไสด์ที่ 10 
บริษัท Vantage
  • จดทะเบียน 85 ล้านบาท (850,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท) ก่อตั้ง 9 ธันวา 1991
  • โครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็นกลุ่มเซ็นทรัล
โครงการบางใหญ่
  • พื้นที่ในอาคาร + พื้นที่จอดรถ = 333,000 sq.m.
  • พื้นที่เช่า (ไม่รวมพื้นที่ห้าง) = 75,000 sq.m.
  • เริ่มก่อสร้างปี 2013 ใช้ระยะเวลา 26 เดือน แล้วเสร็จปี 2015 เริ่มมีรายได้ปีนี้
  • เงินลงทุนสร้าง 6,880 ล้านบาท
  • ตั้งอยู่ที่บางใหญ่ นนทบุรี ระหว่างถนนกาญจนาภิเษกและถนนรัตนาธิเบศร์  
  • สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และมอเตอร์เวย์สาย 81
ปัจจัยเสี่ยงโครงการบางใหญ่
  • การพัฒนาโครงการ 
  • จะสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าได้ไหม จะมีผู้เช่าเยอะไหม แต่เสี่ยงไม่มากเรามีประสบการณ์
  • พื้นที่อยู่ใน location น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เราเตรียมการเรื่องนี้ ทำสูงขึ้นมากว่าระดับน้ำท่วม และทำประกันไว้
ความคุ้มค่าการเช่าที่ดินบางใหญ่ เริ่มหน้า 17
  • ผู้ประเมินอิสระรายแรกประเมินค่าเช่า 30 ปี คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันที่ 1,871 ล้านบาท รายละเอียดหน้า 17
  • ผู้ประเมินอิสระรายสองประเมินค่าเช่า 30 ปี คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันที่ 1,978 ล้านบาท รายละเอียดหน้า 18
  • IFA สรุปจาก 2 รายและใส่ส่วนลด WACC ที่ 8.76% ได้เป็นมูลค่าปัจจุบันที่ 1,748 ล้านบาท รายละเอียดหน้า 19

ผู้บริหารพูดว่าที่ดินบางใหญ่ดูไว้ตั้งแต่ปี 2003 แต่ไม่ได้ซื้อไว้ตอนนั้น CPN ลงทุนแจ้งวัฒนะ, ชลบุรีที่ดินมีแล้วแต่ต้องสร้าง, ขอนแก่น, พัทยาบีช เลยไม่ได้ซื้อไว้ และตอนนั้นก็เริ่มสร้างรัตนาธิเบศร์อยู่ กลุ่มเซ็นทรัลเลยซื้อแทนซึ่งที่ดินแปลงนี้บางใหญ่เกิดจากการรวมซื้อจากรายย่อยเยอะมาก

ในอดีตมีกรณีที่เหมือนกันคือตอนภูเก็ต ในตอนนั้นเราลงทุนกับเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งลงทุนเยอะมาก เซ็นทรัลกรุ๊ปบอกมีที่แถวภูเก็ตอยู่แต่ตอนนั้นเราไม่มีกระแสเงินสดพอ ถ้าเซ็นทรัลกรุ๊ปซื้อที่ไว้แล้วไม่ทำห้างก็จะมีปัญหาทางเซ็นทรัลกรุ๊ปเลยตัดสินใจทำไปเลย สร้างภูเก็ตเฟสติวัล 

เพิ่มเติม
  • เซ็นทรัลลาดพร้าวต่อสัญญา 20 ปี 21,000 ล้านบาท (หมดไป 2551) กับทาง การรถไฟ รฟท
  • การรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นธุรกิจขาดทุนแบบนั้น แต่มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินปีละ 1,500 ล้านบาท
  • ช่วงรัฐบาล ปชป. เซ็นทรัลจะต่อสัญญาถูก
  • ข่าวเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ รายละเอียดเช่าที่ดินบางใหญ่ 


SNC : Opp day Nov 5, 2012 part 2 Q&A


SNC : ผู้เปิดด้วยการขอโทษนักลงทุนที่ปีนี้ทำไม่ได้ตามเป้าที่พูดไว้ต้นปีว่าจะเติบโต 20%

สาเหตุตัวเลขกำไรที่ลดลง
1. แก้ปัญหาน้ำท่วม: โรงงานติดคลองพระโขนงถ้าปล่อยน้ำจะท่วมเข้าหลังโรงงานจึงย้ายไปชลบุรีและรีบ เร่งเดินสายการผลิตใน 2 อาทิตย์ และพอย้ายกลับมาก็ให้ทางเจ้าของพื้นที่เช่าปรับพื้นที่ถนนให้สูงขึ้นไป 2 เมตรจากถนน
2. ย้ายโรงงานรวมกัน: เราได้พื้นที่มาอีกเกือบ 10,000 ตารางเมตร เป็นโรงงานใหม่ และทำกำแพงกันน้ำท่วมถาวร ค่าใช้จ่ายหลายสิบล้าน  
3. ลงทุนอนาคต: ทำโครงการพัฒนาสินค้าของเราเอง R&D ส่วนใหญ่ที่ขยายไปเป็นโครงการต้นน้ำเพื่อป้อนอุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ ไฟฟ้าไม่ใช่แค่แอร์ และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท, ลงทุนอาคาร, เครื่องใช้สำนักงานสำนักงานที่ระยองและแหลมฉบัง  

  • ประเทศไทยใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 แต่ประเทศใน AEC ใช้แค่เบอร์ 4 เราจะพัฒนาตรงนี้ให้ลูกค้าเอาไปขาย
  • ลูกค้าหลักๆ อยู่ในญี่ปุ่น
  • ในอนาคตเราจะพยายามไม่ใช่แรงงานคน ใช้เครื่องจักรอิเล็คโทนิคระบบลม ถ้าปีหน้าออกมาดี จะลงทุนโรบอทเพิ่มหมด
  • ในอนาคตรับงานมากขึ้น ยากขึ้น แม่นยำมากขึ้น โดยไม่พึ่งคน
  • โรงงานใหม่ที่เทพารักษ์เป็นโรบอทหมดไม่ใช่คน สิ้นปีนี้น่าจะเสร็จ
  • ชิ้นงานใช้ plate ประมาณ 800 ตัน
  • ในอดีตใช้คน ปัจจุบันใช้โรบอทจะลด cycle time ได้
  • ลายผลิตที่ระยองถูกจองถึงสิ้นปีหน้าลงทุนลายละ 150 ล้าน ส่วนลาย transfer ลงทุนลายละ 100 ล้านบาท กำลังคิดว่าจะทำซัก 5 ลาย เสี่ยงทีเดียวเลย ถ้ารวยก็รวยเลย ถ้าเพิ่ม 5 ลายต้องกู้เงินเพิ่ม แต่ไม่เพิ่มทุน

Q&A
  • ผู้บริหารบอกให้ข่าวกับนักวิเคราะห์ แต่ไม่ได้ให้ข่าวหนังสือพิมพ์
  • ธุรกิจรถ จากการลดราคาให้ลูกค้ามีลูกค้ารายใหม่ใน order ทุกกลุ่มครับ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าในอนาคตจะติดต่อกับบริษัทแม่สำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่น
  • ค่าแรง 300 บาท ในเดือนมกราไม่กระทบกับเรา เราปรับไปหมดแล้ว
  • ที่ร่วมทุนกับ sugimoto ปีนี้ขาดทุน 30 ล้านบาท ปีหน้าจะทำกำไรให้ได้ ส่วนงานรถยนต์ปี 2013 ทำแม่พิมพ์ทั้งหมด ปี 2014 เริ่ม
  • ปี 2013 ลงทุนกับ joint venture ประมาณ 600 ล้านบาท โดยจะกู้ประมาณ 400-500 ล้านบาท เรามีเงินหมุนเวียน 700-800 ล้านบาท 
  • *ผู้บริหารหลุดเซ็น joint venture กับเครื่องทำน้ำร้อนของฝรั่งเศษหลังพรีเซ็นต์เสร็จ พัฒนาสำเร็จหมดแล้ว เริ่มดำเนินการปี 2013  แต่ยอดยังไม่มาก
  • ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายรายได้และกำไรปี 2013-2015 น่าจะขยับเกิน 15% จากฐานใหม่
  • ถาม: SNC มีมุมมองอย่างไรกับการที่ Gree Electric Appliances Inc. of Zhuhai (บ.ผลิตแอร์รายใหญ่ในจีน)ใช้กลยุทธ์แข่งราคา และพัฒนา เทคโนโลยี รุกตลาดเครื่องปรับอากาศทั้งรถและบ้านโดยเฉพาะ และมีแรงสนับสนุนจากรัฐเรื่อง Distribution & Logistics of Shenzhen ด้วย
    ตอบ: Gree รัฐบาลถือหุ้น  การที่เราจะสู้ราคาคงไม่ได้  แต่กลุ่มลูกค้าบางกลุ่มถ้าแอร์ตัวเดียวกันหากผลิตที่จีนกับผลิตที่ไทย แอร์ที่ผลิตในไทยมีโอกาสขายได้มากกว่า
  • ถ้าจีนขายแข่งแอร์เบอร์ 5 ใน AEC ก็จะโดนภาษีและค่าขนส่ง แต่ถ้าเบอร์ 4 ก็อยู่ที่ลูกค้าเลือก ภายใต้ญี่ห้อญี่ปุ่น เรามั่นใจว่าจะขายได้ในฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
  • *แต่ต้นปีจะมีข่าว SNC จับมือกับ Gree ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ที่แหลมฉบังภายใต้แบรนด์ญี่ปุ่น โครงการจะจบสิ้นปีนี้ถ้าสำเร็จ 
  • *แผนปีหน้าขยายงานต้นน้ำเพิ่มขึ้นและใช้แรงงานลดลง, อุตสาหกรรมรถยนต์จะขายให้ครบทุกยี่ห้อ, เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำ OEM ให้ลูกค้าและมุ่งขาย AEC + 6(จีน, อินเดีย, ออสเตรเรีย, นิวซีแลนด์)   
  • Toptech diamond มี net profit 14-16% ตอนนี้อยู่ในช่วงปรับแนวคิด และเทคโนโลยีการผลิต
  • Toptech สร้างโรงงานเพิ่มอีก 1 โรง แต่ CEO บอกยังไม่ให้ใช้ ให้ใช้โรงงานเก่าให้เต็มประสิทธิภาพก่อน มี 1 โรงไม่ได้ใช้จึงต้องแบกค่าเสื่อม
  • คาดว่าการที่ลูกค้าของบริษัทซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจะย้ายฐานการผลิตออกจากไทยคงเป็นไปได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากคู่แข่งเรามี 2 ที่คือเวียดนาม กับลาวซึ่ง Logistic กับสาธารณูปโภคยังสู้เราไม่ได้ โดยที่บริษัทก็ติดตามดูพัฒนาการของประเทศเหล่านี้อย่างใกล้ชิดขณะนี้มองว่าภายใน 2-3 ปีนี้บริษัทยังคงไม่ไปประเทศเหล่านั้น 
  • ธุรกิจไหนที่ SNC ไม่ถนัด - ธุรกิจเกษตร และเครื่องนุ่งห่ม
  • Order ซูซูกิ เริ่มปี 2014  เป็น new model 
  • Shape มี order เดือนละประมาณ 10,000 เครื่อง(จากเดิม 3000) กำลังเจรจาผลิต Shape รุ่นใหม่อยู่
  • งานรถยนต์คิดเป็น 8% ของรายได้รวม หากในอนาคตความต้องการซื้อรถลดลงก็กระทบไม่มาก  ทางบริษัทก็ต้องขยายสัดส่วนยอดขายในส่วนงานนี้ตั้งเป้าปีหน้า 15% และจะทำให้ได้ 20%
  • ทั้ง JV และ Take over ใช้วงเงิน 500 ล้านบาท แหล่งเงินจากการดำเนินงานและกู้เงินจากสถาบันการเงิน 
  • ปันผลปี 56 มีแนวโน้มลดลงจากปี 55 54 เพราะกำไรไม่ได้ ต้นสูงค่าใช้จ่ายสูง 
  • ตอนนี้มีหลายบริษัทที่ทำการฉีดพลากสติก และทำชิ้นส่วนรถยนต์ แต่เราเน้นการฉีดงานชิ้นใหญ่ ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ ราคาขายสูงกว่างานชิ้นเล็ก คู่แข่งในตลาดที่น้อยกว่า 
  • Q3 low season ถึงเดือนตุลา เริ่มผลิตได้มากขึ้น พฤศจิ ธันวา 
  • การแข่งขันในอุตสาหกรรมรถยนต์ดุเดือด 
  • ลูกค้าคือคู่แข่ง(ลูกค้าผลิตเอง) เราทำต้นน้ำเองเกือบหมด เราจะได้เปรียบคู่แข่งตรงนี้ 
  • เรื่องคุณสมชัย ceo ซื้อหุ้น SNC Innovation ซื้อหุ้น 15 ล้านบาทจบแล้ว จ่ายตั้งแล้ว เป็นของผมหมดแล้ว ส่วนเรื่องปันผลเมียผม(นางอนงค์นารถ)ก็ถือหุ้นรายใหญ่ SNC (ฮา)  
  • ปี56 & ปี57 Net profit margin target : Auto 12-15%, OEM 3%, Parts 9-11%, Overall 6-8% 
  • HTECH มีรายได้สูงกว่า Toptech 3 เท่า
  • ค่าใช้จ่ายของโรงงานใหม่ของ toptech มูลค่า 20 ล้านบาท อายุการใช้งาน 30 ปี เท่ากับ ค่าเสื่อมราคาปีละ 6 แสนบาท
  • การลงทุนใน Toptech มีผลกำไรแล้วใน Q3/55, การลงทุนใน SSMA ปี 2013 ตั้งเป้า จุดคุ้มทุน(breakeven) ปี 2014 ตั้งเป้ามีกำไร
  • การใช้อลูมิเนียมทดแทนทองแดงให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งการว่าจ้างบุคคลากรชาวญี่ปุ่นก็เพื่อจะมาเดินโครงการนี้ให้สำเร็จ      
  • งานOEM มี value added น้อย จึงมี profit margin น้อย ที่บริษัทรับทำงาน OEM เพราะ ต้องการควบทำงานต้นน้ำ ซึ่งมี value added และมี profit margin ที่ดี  ส่วนการลงทุนสร้างธุรกิจใหม่ เมล็ดพันธ์ใหม่ๆ เป็นความจำเป็นการขยายธุรกิจในอนาคต 
  • กรณีแย่สุดปี 2012 SSMA คาดว่าจะขาดทุน 30 ล้าบาท โดย SNC รับรู้ 49% เท่ากับ 15 ล้านบาท ส่วนปี 2013 ตั้งเป้าจุดคุ้มทุน(breakeven)
  • สิ่งที่ยังกังวลใจอยู่มากที่สุดในตอนนี้ คือ การพัฒนาบุคลากรในระดับกลาง และระดับต้น ให้ทันต่อการเติบโตของบริษัท 
  • คาดว่าเราจะผลิตแอร์ทั้งปีได้ประมาณ 400,000-500,000 เครื่อง 
  • เยี่ยมโรงงานแจ้งคุณดาวใจ dawjai@sncformer.com
ก่อนจบ ceo ขอโทษนักลงทุนอีกครั้ง และขอความคิดเห็นนักลงทุนด้วยเพราะเชื่อว่าจะมีมุมมองหลายมุม


12/22/2555

SNC : Opp day Nov 5, 2012 part 1 รายงาน


SNC : ผู้เปิดด้วยการบอกว่าตัวเลขไม่ดีนัก และบอกผลการทำงานด้าน CG การดำเนินงาน ผลตรวจ 5 ดาวดีขึ้นจากปีที่แล้ว 4 ดาว

Home Appliance Segment 
  • Air Conditioner ตั้งเป้าปีนี้ 17,966,264 เครื่อง (y54 ได้ 15,961,205) Q3 ทำได้แล้ว 13,512,427 เครื่อง คิดเป็น 75% ของเป้าหมาย
  • Air Conditioner ลูกค้า 8 ราย คิดเป็น รายใหญ่ 24% , 19% , 13% รายที่ 4-5 เท่ากัน 12%
 ยอดการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ ข้อมูลจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คโทนิค
  • ยอดผลิตแอร์บ้าน 9M55 อยู่ที่ 14.4 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 9% yoy (ปีที่แล้ว 13.2 ล้านเครื่อง)
  • ยอดผลิตแอร์บ้าน 3Q55 อยู่ที่ 4.17 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 23% yoy (ปีที่แล้ว  3.40 ล้านเครื่อง)
  • ยอดผลิต Compressor 9M55 อยู่ที่ 9.7 ล้านเครื่อง ลดลง -11% yoy (ปีที่แล้ว 10.9 ล้านเครื่อง)
  • ยอดผลิต Compressor 3Q55 อยู่ที่ 3.21 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 1% yoy (ปีที่แล้ว  3.24 ล้านเครื่อง)
  • ยอดผลิตตู้เย็น 9M55 อยู่ที่ 5.5 ล้านตู้ เพิ่มขึ้น 10% yoy (ปีที่แล้ว 5.0 ล้านตู้)
  • ยอดผลิตตู้เย็น 3Q55 อยู่ที่ 1.94 ล้านตู้ เพิ่มขึ้น 12% yoy (ปีที่แล้ว 1.73 ล้านตู้) 
  • ยอดผลิตเครื่องซักผ้า 9M55 อยู่ที่ 5.2 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 2% yoy (ปีที่แล้ว 5.1 ล้านเครื่อง)
  • ยอดผลิตเครื่องซักผ้า 3Q55 อยู่ที่ 1.73 ล้านเครื่อง ลดลง -2% yoy (ปีที่แล้ว 1.77 ล้านเครื่อง)
  • 3Q12 รายได้เครื่องใช้ไฟฟ้า OEM 649 (เพิ่มขึ้น 23%) + ชิ้นส่วน 813 (เพิ่มขึ้น 13%) = 1,493 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 19%)
  • ตัว OEM ที่เพิ่มขึ้นมาหลักๆ มาจากลูกค้าญี่ปุ่น , รายได้ธุรกิจชิ้นส่วนมาจากธุรกิจพลาสติก และ Toptech diamond ที่ซื้อมาในปี 2012
  • 3Q12 กำไรเครื่องใช้ไฟฟ้า OEM 7 (เพิ่มขึ้น 150%) + ชิ้นส่วน 69 (ลดลง -8%) = 76 ล้านบาท (ลดลง -2%)
  • **กำไรชิ้นส่วนที่ลดลงหลักๆ มาจาก BOI ตั้งภาษีเครื่องจักรเก่าที่ไม่ใช่ของ SNC บางส่วนเพิ่มเข้าไปใน Q3 ซึ่งตั้งแต่ต้นปียังไม่ได้คิด จึงเป็นยอดสะสม 9M55 เป็นยอด 6 ล้าน ส่วน Q4 ไม่ได้คิดแล้ว  
Automotive Segment ส่วนนี้ปัจจุบันแค่ 8% ปีหน้าเพิ่มให้ได้ 20%
  • 9M55 ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศ 1.7 ล้านคัน ขายในประเทศ 1 ล้าน ผลิตส่งออก 7 แสนคัน
  • 3Q55 ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศ 6.49 แสนคัน ขายในประเทศ 3.93 แสนคัน 
  • คาดว่ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้ 2.3 ล้านคัน (ปีที่แล้ว 1.458 ล้านคัน) ขายในประเทศ 1.3 ล้าน ผลิตส่งออก 1 ล้านคัน  
  • 3Q12 รายได้เพิ่มขึ้น แต่กำไรลดลงในส่วนของ pipe ถึง -57% ทำให้รวมแล้วลดลง -44% เนื่องจากมีการลดราคา pipe ให้ลูกค้าเพื่อรับ order โมเดลใหม่ต่อเนื่อง และผลกระทบจากการย้ายโรงงานซึ่ง Q3 น่าจะจบหมดแล้ว ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในโรงงานใหม่ ขยายกำลังการผลิตเพื่อเตรียมรับ order ที่จะเพิ่มขึ้น     
Ratio
  • cash cycle ติดลบ 9 วัน เทียบกับปีที่แล้ว ติดลบ 3 วัน ถือว่าดีขึ้น มาจากเจ้าหนี้การค้าที่มีจำนวนวันเพิ่มขึ้น
  • ROA ลดลงจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2012 , ROE น้อยกว่าปีที่แล้ว 1% (28%->27%)
  • D/E เพิ่มขึ้น 0.6 -> 0.9 ยังน้อยอยู่ ใกล้ๆ สิ้นปีครบกำหนดจ่ายก็จะน้อยลงอีกปีที่แล้วสิ้นปี 0.2




CPN : Opp day Nov 21, 2012


CPN ช่วงแรก
  • ไตรมาส 3 จัดตั้งกองทุน CPNCG และขายสำนักงานเซ็นทรัลเวิลดเข้า CPNCG กำไรพิเศษ 1,601 ล้านบาท
  • ผู้บริหาร นริศ เชยกลิ่น ซื้อ CPNCG 10,000 หน่วยราคาหน่วยละ 10.30 บาท เป็นเงิน 103,000 บาท
  • เปิดเซ็นทรัลพลาซ่าที่สุราษฎร์วันที่ 11 ตุลา 55 ที่ Occupancy rate 93% ,รายค้าบ่นว่าสร้างเล็กไปหน่อย
  • ศูนย์การค้าเดิม สัญญาเช่าที่ครบแล้วต่อสัญญาใหม่ถึง 12% ใน 3Q12 เทียบกับ yoy
  • 3Q12 รายได้โตเทียบ yoy ถึง 42% , กำไร 220% ถ้ารวมกำไรพิเศษด้วยโต 632% ถ้าดูในแง่ same store รายได้โต 11%
  • D/E 0.88 ลงจาก 1.2
แผนการขยาย
  • เซ็นทรัลพลาซ่าลำปาง 30 พฤศจิ 55 คาด Occupancy rate 90% 
  • เซ็นทรัลพลาซ่าอุบล เปิดเดือนเมษา , เซ็นทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ Q4 และเซ็นทรัลเฟสติเชียงใหม่
  • เดี๋ยวนี้สร้างเสร็จก่อนเกือบ 1 เดือน การเปิดศูนย์ 3-4 แห่ง เป็นไปได้
พื้นที่ห้างและสำนักงาน
  • ศูนย์ กทม. 10 แห่ง Occupancy rate เฉลี่ย 97-98%
  • ศูนย์ ตจว. 8 แห่ง + 1 แห่งสุราษฎร์ 98% *ปัจจบุันมี 20 สาขาแล้วรวมที่ลำปาง
  • ชลบุรีดี ไปโลด, ขอนแก่น 95% ว่างชั้นบน
  • สำนักงาน 5 แห่ง 
    • 1. เซ็นทรัลเวิลด์ขายเข้า CPNCG โดย CPN บริหารถือหุ้น 25% เช่าเต็ม
    • 2. เซ็นทรัลลาดพร้าว
    • 3. เซ็นทรัลบางนา
    • 4. เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เต็ม 100% แล้วจาก 84%
    • 5. เซ็นทรัลพระราม 9
  • โรงแรม 2 แห่ง 
    • ฮิลตัน พัทยา 302 ห้อง 63% Q3 เป็น Low Season
    • เซ็นทาราอุดร 259 ห้อง 56% Q3 เป็น Low Season ผิดหวังนิดหนึ่ง
  • Residential
    • บางนา 1,907sqm 47%
    • สวนหลวง 4,466sqm 61%  
  • ปี 2015 มี 30 สาขาพื้นที่ทั้งหมด 1,537,450 sqm
การเงิน CPN
  • Retail & Office รายได้โต 44% yoy ส่วนหนึ่งมาจากเซ็นทรัลลาดพร้าวที่เปิด สิงหา 54 ปีนี้ดำเนินงานเต็มไตรมาส 
  • Hotel รายได้โต 70% yoy อุดรปีที่แล้วปิดไปแล้วเปิดในช่วงเดือนธันวา
  • ศูนย์อาหารเติบโตต่อเนื่อง ทำได้ดีที่พัทยา
  • ความเสี่ยงเรื่องต้นทุนค่าแรง 300 บาท แม่บ้าน, รปภ. และค่าสาธารนูปโภค ปรับเพิ่มค่า FT สรุปต้นทุนโต 25%
  • ค่าใช้จ่ายหลัก บุคลากรและการตลาด ,การตลาดทำได้ดี, ค่าใช้จ่ายบุคลากรโตเพื่อรองรับการขยาย
  • หนี้เงินกู้ยืม 26,492 ล้านบาท เป็นสกุลเงินบาท ไม่มีการกู้ต่างประเทศ กู้แบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ , ระยะเวลาเงินกูเฉลี่ย 3-7 ปี
  • ปันผลไม่ต่ำ 40% ในอัตรากำไรปกติ ส่วนที่ได้จากกำไรพิเศษจะพิจรณาเพิ่มจ่ายให้อีกที ไม่ได้อัตราที่ 40% ถ้าดูจากของปิ่นเกล้าที่เข้า CPNRF ปี 2009 จะให้ที่ 14% ของกำไรพิเศษ
CPNRF 4 แห่งโดย CPN บริหารและถือหุ้น 27.8%
  • พระราม 2 มี 322 ร้านค้า
  • พระราม 3 มี 236 ร้านค้า
  • ปิ่นเกล้าพลาซ่า มี 118 ร้านค้า
  • ปิ่นเกล้า สำนักงานตึก A และ B มี 97 ร้านค้า
  • รวม 773 ร้านค้า Occupancy rate 98.2%   
  • ต่อสัญญาใหม่อัตราค่าเช่าเพิ่ม 7.6% มีทั้งหมด 173 สัญญา จากพื้นที่ทั้งหมด 9.7% พื้นที่ 18,566 sqm 
  • จ่ายเงินกู้ไตรมาสละ 5 ล้านบาท แต่ในไตรมาสต่อไปจะต้องจ่ายไตรมาสละ 20 ล้านบาท
  • ถ้าถือผลต่างราคา + ปันผลตั้งแต่ปี 2005 เฉลี่ยได้ 13-15% ต่อปี
Q&A
  • สัญญาปกติเช่ากับร้านค้าทั่วไป 3 ปี เวลาต่อขึ้นอย่างน้อย 15% บางสัญญาเพิ่ม 25% 30% 50%
  • ราคาต่อหน่วย พื้นที่ใหญ่แพงกว่าพื้นที่เล็ก พื้นที่ใหญ่จะอยู่ไกลๆ ร้านใหญ่ๆ จะดึงคนได้
  • CPN เช่าที่ดิน Vantage มีผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการคือกลุ่มจิราธิวัฒน์ 98 ไร่ที่บางใหญ่ นนทบุรี , พึ่งได้รับอนุมัติจากบอร์ดใช้เวลาอีก 6 เดือน ถึงเริ่มก่อสร้าง ค่าก่อสร้างเยอะเพราะใหญ่ ใหญ่กว่าพระราม 2 ใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท ต้องผ่านมติผู้ถือหุ้นก่อนในวันที่ 18 มกรา  
  • CPN ช่วยร้านใหม่ที่ยอดขายไม่ดี ทำป้ายให้ ผ่าน 3 ปีครบสัญญาแล้วมาคุยกันว่าไหวไหม
  • เปิดแต่ละศูนย์ให้ระยะเวลาในการคืนทุน 8 ปี
  • ขายสินทรัพย์ เชียงใหม่แอร์พอร์ต กับรามอินทราเข้า CPNRF ส่วน CPNCG อาจจะเป็นแจ้งวัฒนะ
  • ต่างประเทศเซ็นต์ MOU ที่มาเลเซียไป 1 แห่ง ต้นปีน่าจะเป็นรูปร่างที่ชัดเจน 
  • มีดูอินโดนีเซีย พม่า ,ส่วนฟิลิปปินส์มี mall ที่กิน market share เยอะอยู่แล้ว และมาเลเซีย mall บ้านเขานิ่งๆ อาจเป็นเรื่องของศาสนา 
  • ปีแรกกำไรเลย แต่น้อยหน่อยหมดไปกับค่าตลาด
  • การขยายของตัวเมือง รถไฟฟ้า เป็นโอกาสให้เราขยายศูนย์ได้เพิ่มขึ้นในตัวเมือง
  • CPN ไม่มีแผนเพิ่มทุน ,CPNRF เพิ่มทุนแล้วแต่ทรัพย์สินที่จะเข้า เพิ่มทุนแน่แค่เชียงใหม่ก็เพิ่มทุน
  • คดียืนฟ้องประกันอยู่ในช่วงการสืบพยานโจทย์ในศาล คาดว่าน่าจะเสร็จภายในวัน 24 ธันวา 55 (สืบพยานจำเลยบริษัทประกันในศาลเสร็จแล้ว) ต้นปีหน้าเขียนคำพิพากษาของศาล
  • ลด D/E ให้ต่ำกว่า 1 โดยการขายทรัพย์สินเข้ากองทุน 
  • แต่ละสาขาที่เปิดใหม่เฉลี่ยลงทุน 5,000 ล้านบาท ใน กทม.แพงกว่าหน่อย 6-7,000 ตจว. 3-4,000 ล้านบาท
  • โรงแรม 2 แห่งตั้งใจจะขายทรัพย์สินเหมือนกันถ้าได้ราคาที่ดี แต่ในอนาคตก็มีสิทธฺทำโรงแรมเหมือนกัน ถ้าเซ็นทาราไม่ทำ offer ให้เซ็นทาราก่อน
  • ไม่ทำธุรกิจที่ไม่ถนัดเอง อาจจะถือหุ้น เช่นธุรกิจ Residential

แถม  http://th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มเซ็นทรัล




Jmart : Opp day Dec 12, 2012


Jmart มีบริษัทลูกอยู่ 2 บริษัท คือ
1. JMT บริษัททวงหนี้เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว วันที่ 27/11/255 โดย Jmart ยังถือหุ้นอยู่ 75%
2. JAS Asset ให้บริการพื้นที่เช่าและ J-Market ผู้บริหารบอกให้ติดตามการเติบโต (อาจจะ ipo)

ผู้บริหารบอกปีนี้ทำสถิติเยอะมาก
1. ปีนี้จะขายมือถือได้ 1.2 ล้านเครื่องรายได้ 6,500 ล้านบาท 9 เดือนที่ผ่านมาขายไปแล้ว 809 ล้านเครื่อง รายได้ 4,478 ล้านบาท
2. Q3 2012 สัดส่วน smartphone 69% มากกว่าเฉลี่ยตลาดที่ 55% (กำไรจะมากขึ้น ถ้าขาย smartphone ได้มากขึ้น)
3. Q3 2012 ราคาขายเฉลี่ย 6,192 บาทต่อเครื่อง (เดิม Q1 2012 5,830 บาท) ราคาเฉลี่ยตลาดจาก GFK 3,556 บาท
4. มาร์จิ้นโตขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว 21% (จาก 14 ล้านบาท เป็น 17 ล้านบาท)
5. สิ้นปีมี 220 สาขา สัดส่วน กทม. 48% ตจว. 52% / ปี 2013 - 280 สาขา / ปี 2014 - 300 สาขา
   56% ขายจาก shop
   37% ขายจาก consignment พวกร้าน Big C
   7%   ขายจาก kisok ร้านค้าขนาดเล็กที่ตั้งไว้ในจุดที่ลูกค้ามักเดินผ่าน
6. อัตราส่วนขายปลีก 73% mid to high ขายส่ง 23% พวกฟีเจอร์โฟน อัตรายังคงเดิม
7. Inventory Turnover (อัตราค้างสต็อกน้อยๆ ดี) เพิ่มจาก 35 เป็น 39  
    ผู้บริหารให้เหตุผลที่เพิ่มว่าเนื่องจากมียอดขายที่เพิ่มขึ้น
 
  • ผู้บริหารบอกว่าตัวเลขนี้เรามาเพียงแค่ครึ่งทาง ยังมีตัวเลขจาก accessories อีก
  • ปรับเปลี่ยน shop ทั้งหมดทั่วประเทศ ใช้ทุน 200 ล้านบาท เฉพาะพารากอน 10 ล้านบาท ผู้บริหารบอกเห็นผลทันตา
  • มีร้านซัมซุงที่บริหารอยู่ 3 แห่ง 1.บางกะปิ 2.แจ้งวัฒนะ 3.เชียงใหม่ มีนโยบายในการเปิดมากขึ้น ดูพื้นที่เหมาะสม
  • มีร้าน BB 1 ร้านที่พารากอน ในข้อจำกัดไม่ขาดทุน คุยกับ RIM ไว้ เป็นที่เดียวที่ปล่อย BB10 ในต้นเดือนกุมภา
  • ทำ JQS : Jaymart Quality Service ดูงานจากญี่ปุ่น
  • ปี 2013 market share เพิ่มจาก 13% -> 15% 
  • ปีหน้ารายได้โต 30 กำไรโต 30
JAS Asset 
   พื้นที่เช่าเพิ่มขึ้น 5 แห่งของ Big C จาก 27 เป็น 32
   ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงราย พิษณุโลก มือถือตลาดใหญ่สุด Big C ซึ่งก็ของ Jmart
   J-Market กำลังทดลองโมเดลใหม่ ที่แรกอมรพันธ์ ที่สองวังหิน พื้นที่ซื้อ

Q&A 
ผู้บริหารพูดในปีหน้า

   เพิ่มรายได้จาก shop เดิมให้มีรายได้เติบโต 20%
   ปีหน้าเพิ่ม 60 shop เป็น smartphone&Tablet 10 , General 20 , Shop เล็ก 30
   เริ่ม start project ทำแฟรนไชส์ในเดือนกุมภา ยิงโฆษณา 7 มกรา คาดว่าจะ rollout 50 แห่ง
   จัดโรดโชว์ปีนี้ 40 ปีหน้า 60 เพิ่มส่วน ตจว. ไปขอนแก่น เชียงใหม่ อุดร สุราษฎร์
   ปีหน้าเพิ่ม IT Junction 8-10 แห่ง ,เพิ่ม J-Market ให้เป็น 10 แห่ง

ถาม-ตอบ
  1. ผู้บริหารบอกอยากให้ J-Market อมรพันธ์อยู่ด้วยตัวของมันเอง ณ วันนี้ยังต้องดูแลเหมือนเด็ก 1 ขวบ ,วังหินที่ยังไม่ได้โอน โอนสิ้นปี โปรเจ็คเริ่มปีหน้า
  2. แฟรนไชส์จะ cover ที่อำเภอใหญ่ เรื่องของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยจะไปเอง ต้นทุนต่ำกว่า
  3. เช็คระบบสินค้าทุกอาทิตย์ ลงทุนระบบ oracle ลงทุน 100 ล้านบาทใช้มา 8 ปี
  4. smartphone&tablet อีก 3 ปี share ใกล้ 100%

ผู้เขียน: คาดการณ์กำไร Q4 2012 ที่ 95 ล้านบาท